น้ำท่วมภาคใต้ ตายแล้ว 11 คน เดือดร้อนเกือบล้าน นายกรัฐมนตรี เจอฝนถล่มภาคใต้ต้องเปลี่ยนแผน ลงเครื่องบินที่ตรัง สั่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยง แนะบริจาคเงินผ่านองค์กรที่เป็นทางการป้องกันมิจฉาชีพ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ต้องเปลี่ยนเส้นทางจากเดิมกำหนดการเครื่องจะลงที่จ.สุราษฎร์ธานี แต่ปรากฏว่าเครื่องลงไม่ได้จึงต้องไปลงที่จ.ตรัง แล้วย้อนเส้นทางไปที่ จ.นครศรีธรรมราชโดยกำหนดการเหมือนเดิม ส่วนสถานการณ์ขณะนี้ไม่ดีขึ้นมีฝนตกหนักมีถนนถูกตัดขาดมากขึ้น รวมทั้งจุดที่มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร ซึ่งในเวลานี้ต้องดูแลเรื่องการอพยพคนในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงโดยเฉพาะน้ำที่ไหลลงมาจากภูเขา ส่วนนักท่องเที่ยวที่ติดเกาะก็เข้าใจว่าเรือไปถึงแล้ว แต่ยืนยันกำลังระดมกำลังเต็มที่ อย่างไรก็ตามในวันพรุ่งนี้จะมีการจัดรายการพิเศษที่ช่อง 9 อสมท
ส่วนกรณีที่มีมิจฉาชีพเปิดบัญชีสวมรอยรับบริจาคช่วยน้ำท่วม นายกฯกล่าวว่า จริงๆถ้าใครจะบริจาคก็ขอให้เลือกหน่วยงานที่เป็นทางการหรือองค์กรที่มีความชัดเจนจะปลอดภัยที่สุด
ทั้งนี้ เมื่อเวลา 09.45 น. นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกฯ ฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) เดินทางด้วยเครื่องบินแอมแบร์ บ.ท.135 ของกองทัพบกออกจากกองการบิน กรมการขนส่งทางบก (ขสทบ.) กองทัพอากาศ ดอนเมือง ไปยัง จ.ตรัง จากนั้นจะนั่งรถยนต์ไปตรวจเยี่ยมสถานการณ์น้ำท่วม พบปะและมอบถุงยังชีพให้กับประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และหลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมสภาพความเสียหายที่โรงพยาบาลท่าศาลา ที่ถูกน้ำท่วมด้วยเช่นกัน
จากนั้น 14.00 น. จะไปพบปะประชาชนและแจกถุงยังชีพที่ถนนราชประชานุเคราะห์ ต.แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจนายกฯจะนั่งเครื่องบินที่ท่าอากาศยาน จ.ตรัง และกลับถึงกรุงเทพมหานครในเวลาประมาณ 18.00 น.
ตายแล้ว 11 คน เดือดร้อน 7 แสน
ด้านนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยในภาคใต้ มีพื้นที่ประสบภัย 8 จังหวัด 80 อำเภอ 536 ตำบล 3,464 หมู่บ้าน ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร สงขลา กระบี่ และพังงา ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 257,786 ครัวเรือน 716,110 คน ผู้เสียชีวิต 11 ราย ใน 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 7 ราย พัทลุง 1 ราย สุราษฎร์ธานี 3 ราย ทั้งนี้ ผู้ประสบอุทกภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
นักท่องเที่ยวยังไม่ได้ขึ้นเรือจักรีนฤเบศร์
เวลาประมาณ 11.08 น. อ้อม พิยดา จุฑารัตนกุล ดารานักแสดงและพิธีกรชื่อดัง ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ ไนน์ เอนเตอร์เทน ทางช่อง 9 ว่า ตอนนี้ตัวเองและนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ ที่เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี ยังไม่ได้ขึ้นเรือหลวงจักรีนฤเบศร รอทหารจากเรือหลวงจักรีนฤเบศรมาประสานว่าจะยังไง ทางคนบนเกาะก็พยายามเอาเรือหางออกเพื่อจะไปขึ้นเรือหลวงจักรีนฤเศร แต่เจอคลื่นแรงเลยไปไม่ถึง ตอนนี้ฝนยังตกตลอด รวมถึงยังไม่สามารถขึ้นเฮลิคอปเตอร์ได้ ล่าสุด บรรดานักท่องเที่ยวต่างชาติต่างรู้สึกแย่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางเราก็เลยพยายามบอกให้ใจเย็นๆ หลายคนก็ถามว่ารออะไร เมื่อไหร่ ยังไง ส่วนตัวไม่ได้ตกใจอะไรมาก พยายามทำหน้าที่อาสา ช่วยนักท่องเที่ยวต่อไป
น.อ.สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้บังคับการเรือหลวงจักรีนฤเบศร (ผบ.ร.ล.) เปิดเผยสถานการณ์ล่าสุด การให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวบนเกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี ว่า ขณะนี้ ได้เดินทางมาถึงที่เกาะเต่าแล้ว โดยสิ่งสำคัญก็คือต้องหาทางลำเลียงนักท่องเที่ยวจากเกาะเต่าขึ้นมาบนเรือ เนื่องจากมีอุปสรรค คือ คลื่นลมยังแรงอยู่ สูงประมาณ 3 เมตร และมีลม 50 กม./ช.ม.
ด้านนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยในภาคใต้ มีพื้นที่ประสบภัย 8 จังหวัด 80 อำเภอ 536 ตำบล 3,464 หมู่บ้าน ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร สงขลา กระบี่ และพังงา ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 257,786 ครัวเรือน 716,110 คน ผู้เสียชีวิต 11 ราย ใน 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 7 ราย พัทลุง 1 ราย สุราษฎร์ธานี 3 ราย ทั้งนี้ ผู้ประสบอุทกภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมงเวลาประมาณ 11.08 น. อ้อม พิยดา จุฑารัตนกุล ดารานักแสดงและพิธีกรชื่อดัง ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ ไนน์ เอนเตอร์เทน ทางช่อง 9 ว่า ตอนนี้ตัวเองและนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ ที่เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี ยังไม่ได้ขึ้นเรือหลวงจักรีนฤเบศร รอทหารจากเรือหลวงจักรีนฤเบศรมาประสานว่าจะยังไง ทางคนบนเกาะก็พยายามเอาเรือหางออกเพื่อจะไปขึ้นเรือหลวงจักรีนฤเศร แต่เจอคลื่นแรงเลยไปไม่ถึง ตอนนี้ฝนยังตกตลอด รวมถึงยังไม่สามารถขึ้นเฮลิคอปเตอร์ได้ ล่าสุด บรรดานักท่องเที่ยวต่างชาติต่างรู้สึกแย่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางเราก็เลยพยายามบอกให้ใจเย็นๆ หลายคนก็ถามว่ารออะไร เมื่อไหร่ ยังไง ส่วนตัวไม่ได้ตกใจอะไรมาก พยายามทำหน้าที่อาสา ช่วยนักท่องเที่ยวต่อไปน.อ.สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้บังคับการเรือหลวงจักรีนฤเบศร (ผบ.ร.ล.) เปิดเผยสถานการณ์ล่าสุด การให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวบนเกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี ว่า ขณะนี้ ได้เดินทางมาถึงที่เกาะเต่าแล้ว โดยสิ่งสำคัญก็คือต้องหาทางลำเลียงนักท่องเที่ยวจากเกาะเต่าขึ้นมาบนเรือ เนื่องจากมีอุปสรรค คือ คลื่นลมยังแรงอยู่ สูงประมาณ 3 เมตร และมีลม 50 กม./ช.ม.
ขณะนี้เรือใหญ่ได้ทิ้งสมอห่างจากท่าเรือเกาะเต่า อยู่ 4 กม. ต้องใช้เรือเล็กขนคนเที่ยวละ 50 คน อาจต้องใช้เวลาเที่ยวละ 30 นาที – 1 ช.ม. จนครบพันคน และขณะนี้ได้ลองนำเรือ 2 ชั้น ที่ชาวบ้านใช้นำนักท่องเที่ยวไปดำน้ำมาทดลองเทียบก่อนว่า สามารถทำได้และปลอดภัยหรือไม่ พร้อมระบุว่า หากช่วงสายของวันนี้ ท้องฟ้าเปิด ความเร็วลมลดลง จะขนย้ายนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีภารกิจนำเฮลิคอปเตอร์ ไปช่วยเหลือขนย้ายนักท่องเที่ยวที่เกาะสมุยด้วย ซึ่งมีติดอยู่ประมาณ 80-100 คน โดยหากช่วยเหลือได้ทั้งหมดแล้ว จากทั้ง 2 เกาะ จุดแรกที่จะนำส่งคือท่าเรือบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้เวลาเดินทางจากจุดที่จอดทิ้งสมอขณะนี้ถึงบางสะพาน ประมาณ 4 ช.ม. ซึ่งหากไม่ติดปัญหาใด คาดว่า จะสามารถนำนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติกว่า 1 พัน ออกจากเกาะได้อย่างปลอดดภัย
ระดับน้ำขึ้นสูง-ท่วมขังหลายพื้นที่
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ ระบุว่า ล่าสุด เวลา 10.00 น. วันนี้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องหลายวัน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำสายต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น และยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ทั้งหมด 23 อำเภอ แบ่งตามพื้นที่ลุ่มน้ำได้ดังนี้ พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ยังคงมีน้ำท่วมขังในเขตอำเภอปากพนัง เชียรใหญ่ หัวไทร และเฉลิมพระเกียรติ มีระดับน้ำสูงขึ้นตามไปด้วย
สำหรับในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ยังส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำสายต่าง ๆ ยังคงอยู่ในระดับสูง มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 11 อำเภอ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร ชายทะเลสาบสงขลา ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มต่ำบริเวณกว้าง ความลึกเฉลี่ยประมาณ 0.50 – 1.00 เมตร
จังหวัดสงขลา เนื่องจากยังคงมีฝนตกกระจายในพื้นที่ ทำให้ระดับน้ำในทะเลสาบสงขลายังคงมีระดับน้ำสูงขึ้น กรอปกับปริมาณน้ำที่ไหลลงมาจากพื้นที่อำเภอระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ และสิงหนคร รวมถึงปริมาณน้ำที่ไหลหลากลงมาจากเทือกเขาบรรทัดในเขตจังหวัดพัทลุง ที่ไหลลงสู่ทะเลสาบ ส่งผลให้แนวโน้มระดับน้ำในแม่น้ำทะเลสาบสงขลายังคงมีระดับน้ำสูงขึ้น มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 2 อำเภอ คือ ระโนด และกระแสสินธุ์ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับบริเวณรอบๆ ทะเลสาบสงขลา ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.50 – 1.00 เมตร
จังหวัดตรัง ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองตรัง นาโยง รัษฎา ห้วยยอด สิเกา วังวิเศษ ย่านตาขาว และปะเหลียน ระดับน้ำในแม่น้ำตรัง และคลองปะเหลียนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มระดับน้ำในแม่น้ำตรังและคลองปะเหลียน ยังคงสูงขึ้น เนื่องจากฝนยังไม่หยุดตก และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
อนึ่ง กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่าหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงยังคงปกคลุมบริเวณชายฝั่งจ.กระบี่ ทำให้ภาคใต้มีฝนชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกเริ่มจะมีฝนลดลง จึงขอให้ประชาชนโดยเฉพาะบริเวณจ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล เฝ้าระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากต่อไปอีกในระยะนี้
กรมชลประทานได้ทำการเปิดประตูระบายน้ำ(ปตร.)ทุกแห่งแล้ว ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 54 เป็นต้นมา เพื่อให้น้ำที่ท่วมขังไหลลงสู่ทะเลได้มากยิ่งขึ้น เฉลี่ยวันละประมาณ 80 ล้านลูกบาศก์เมตร จนถึงปัจจุบันสามารถระบายน้ำที่ท่วมขัง ได้รวมประมาณ 300 – 350 ล้านลูกบาศก์เมตร ในส่วนของ พื้นที่ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ระดับน้ำในคลองต่างๆ เริ่มทรงตัว การระบายน้ำยังคงระบายได้ดี และระบายได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วนในพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีน้ำท่วมขัง ได้ทำการสูบน้ำระบายน้ำออกจากพื้นที่เช่นกัน พื้นที่ลุ่มน้ำตาปี ได้แก่ ฝนที่ตกบริเวณต้นน้ำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำตาปีบางแห่งยังคงสูงกว่าระดับตลิ่ง และมีน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำในเขตอำเภอพิปูนและฉวางบางส่วน พื้นที่ลุ่มน้ำตรัง ในเขตอำเภอทุ่งสง และบางขัน มีฝนตกหนักกระจายทุกพื้นที่ ระดับน้ำในลำน้ำธรรมชาติ เอ่อล้นตลิ่งท่วมพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ชุมชนบางส่วน แต่การระบายน้ำออกจากพื้นที่ยังสามารถระบายได้
ทหารตั้งชุดเคลื่อนที่เร็วช่วย
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. สั่งให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 4 ได้บูรณาการความช่วยเหลือให้ตรงกับความต้องการของประชาชน พร้อมจัดศูนย์บรรเทาสาธารณภัยย่อยเพิ่มอีก 11 ศูนย์กระจายไปทุกพื้นที่ เน้นการอพยพประชาชนไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย และขนย้ายสิ่งของ การแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค รวมถึงชุดแพทย์เคลื่อนที่จากโรงพยาบาลต่างๆในพื้นที่ พร้อมส่งชุดแพทย์จากส่วนกลางลงไปเพิ่มเติม นอกจากนี้ได้ส่งชุดครัวสนาม จากกรมพลาธิการทหารบกลงไปประกอบอาหารให้ผู้ที่เดือดร้อนด้วย
โดยขณะนี้ได้ส่งชุดบรรเทาสาธารณภัยเคลื่อนที่เร็ว ซึ่งประกอบด้วย เรือเจ๊ทสกี รถสะเทินน้ำสะเทินบก เรือท้องแบนอีก 60 ลำเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ที่พาหนะเข้าไปไม่ถึง พร้อมเจ้าหน้าที่ทหารจากกองทัพภาคที่ 4 อีก 2,000 นาย
ทั้งนี้ ผบ.ทบ.ได้สั่งให้เร่งระดมจัดทำถุงยังชีพ 10,000 ถุงเพื่อนำไปแจกจ่ายประชาชนที่เดือดร้อน ซึ่งกองทัพภาคที่ 4 มีอยู่จำนวน 10,000 ถุง โดยกองทัพภาคที่ 4 ตั้งเป้าจะบรรจุถุงยังชีพอีก 50,000 ถุงภายใน 2 วัน หากไม่เพียงพอจะเร่งบรรจุให้ถึง 100,000 ถุงโดยเน้นอาหารแห้ง ไฟฉาย วิทยุทรานซิสเตอร์ เพื่อรับฟังข่าวสารในการรับฟังข้อมูลจากทางราชการในการช่วยเหลือ น้ำดื่ม ผ้าพลาสติก ผ้าเช็คตัว ทั้งนี้ กองทัพบกเปิดรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่หน่วยทหารต่างๆ อาทิ กองบัญชาการกองทัพบก กองทัพภาคที่ 1 หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ (นปอ.) กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.)
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1451 ครั้ง