รูปภาพ : สัฐลักษณ์ของ ESMA หรือ European Securities and Markets Authority ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ที่ก่อตั้งโดยสหภาพยุโรป มีอำนาจในการกำกับดูแลตลาดทุนทั่วทั้งสหภาพยุโรป
ที่มา : ESMA Official Web Site
หน่วยงานกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ของยุโรปได้เริมการสอบสวนบริษัทที่ทำการซื้อขายตราสารการเงินใระบบอัตโนมัติ (Automated Trading) ในวงกว้างด้วยการร้องขอให้บริษัทเหล่านี้เปิดเผยกลยุทธ์การซื้อขายและรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรมอัลกอริธึมพวกเขาใช้ในการขับเคลื่อนการซื้อขาย
แบบสอบถามถูกส่งไปยังบริษัทต่างๆหลายสิบบริษัททั่วทั้งยุโรปโดยสำนักงานกำกับดูแลหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งยุโรปหรือ ESMA (European Securities and Markets Authority) หรือก.ล.ต.แห่งทวีปยุโรปนั่นเอง โดยหน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานที่เป็นตัวแทนหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของแต่ละประเทศในสหภาพยุโรป
นี่ถือเป็นสัญญาณแรกที่บรรดาหน่วนงายกำกับดูแลกำลังทำการติดต่อโดยตรงไปยังบริษัทต่างๆเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า การซื้อขายความเร็วสูงหรือ High-frequency trading เนื่องจากบรรดาหน่วยงานของทางการกำลังเตรียมตัวออกกฎระเบียบใหม่เพื่อเข้าจัดการกับการซื้อขายความเร็วสูงซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
การซื้อขายความเร็วสูงใช้การเขียนโปรแกรมอัลกอริธึมบนคอมพิวเตอร์ (Computer Algorithm) เพื่อทำการซื้อขายหุ้น ตราสารอนุพันธ์ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศภายในเวลาชั่วพริบตาเดียว วิธีการซื้อขายที่ใช้นั้นก็เพื่อเอากำไรจากส่วนต่างราคาที่เล็กนิดเดียวในระบบการซื้อขายที่แตกต่างกันออกไป กลยุทธ์การทำกำไรเช่นนี้กำลังถูกตรวจสอบอย่างหนักจากหน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐฯและยุโรป บรรดาหน่วยงานทางการต้องการทราบว่า การซื้อขายความเร็วสูงมีบทบาทในการอำนวยสภาพคล่องให้ตลาดอย่างที่ผู้สนับสนุนกล่าวอ้างหรือไม่ และการซื้อขายความเร็วสูงนี้เพิ่มรือลดความผันผวนในตลาดหรือไม่
แบบสอบถามซึ่งทางหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์ได้มานั้นถือเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจค้นหาความจริงของ ESMA ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สืบทอดหน้าที่จากหน่วยงานเดิมคือคณะกรรมการผู้กำกับดูแลหลักทรัพย์แห่งยุโรป (Committee of European Securities Regulators) และ ESMA ก็ได้เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่เดือนมกราคมแล้ว
แบบสอบถามนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วย ESMA “ทำความเข้าใจการกลยุทธ์ซื้อขายความเร็วสูงและผลกระทบของกลยุทธ์เหล่านี้ต่อการทำงานของตลาดโดยรวมได้ดีขึ้น ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการซื้อขายความเร็วสูง” ข้อความจากแบบสอบถามระบุ
แบบสอบถามชุดนี้ได้สร้างความไม่สบายใจในหมู่บริษัทค้าหลักทรัพย์จำนวนหนึ่งแล้วซึ่งพวกเขารู้สึกกระวนกระวายเกี่ยวกับการเปิดเผยกลยุทธ์การซื้อขายผ่านบัญชีของบริษัทเอง (Proprietary Trading) ให้กับหน่วยงานของทางการ “การยินยอมทำตามของพวกเรากำลังมีปัญหากับสิ่งนี้ (แบบสอบถาม)” แหล่งข่าวจากบริษัทที่ค้าหลักทรัพย์ด้วยระบบอัตโนมัติแห่งหนึ่งกล่าวกับไฟแนนเชียลไทม์
ESMA ได้สอบถามบริษัทเหล่านี้เกี่ยวกับกลยุทธ์การซื้อขายของพวกเขา ความเร็วของการซื้อขายที่ใช้ในแต่ละครั้ง การพัฒนาโปรแกรมอัลกอริธึมและระบบต่างๆ และการควบคุมซึ่งบริษัทเหล่านี้ใช้เพื่อป้องกัน “การใช้ที่ผิดทางและความผิดพลาดต่างๆ”
นอกจากนั้นบริษัทต่างๆยังถูกร้องขอให้ “อธิบายกลยุทธ์การซื้อขายที่ท่านใช้” และ “ใช้กับชั้นสินทรัพย์ (Asset Classes) ประเภทไหน” ซึ่งรวมถึงหุ้นที่ซื้อขายด้วยเงินสด (Cash Equities), ตราสารอนุพันธ์ที่อิงบนหุ้น (Equity Derivatives), ตราสารอนุพันธ์ที่อิงกับดัชนีหุ้น (Equity-Index Based Derivatives) และ ตราสาร ETFs (Exchange-Traded Funds)
นอกจากนั้น ESMA ยังได้ร้องขอให้บริษัทเหล่านี้นำส่งข้อมูลในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้วโดยเข้ามูลเหล่านั้นมีตั้งแต่ จำนวนคำสั่งที่ใส่ลงไป (The number of orders entered) และ จำนวนของการซื้อขายที่ดำเนินการได้ (The number of trades executed) ที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินทั่วทั้งยุโรปในทุกๆชั้นของสินทรัพย์ และรวมไปถึงอัตราส่วนระหว่างมูลต่าของคำสั่งที่ใส่ลงไป (The value of orders entered) ในแต่ละกลยุทธ์การซื้อขายต่อจำนวนคำสั่งที่ใส่ลงไป
ในอังกฤษนั้น บริษัทที่ใช้กลยุทธ์การซื้อขายความเร็วสูงไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลเพราะบริษัทประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนกับหน่วยงานกำกับดูแลของทางการอังกฤษซึ่งก็คือ สำนักงานกำกับดูแลธุรกิจการเงินหรือ FSA (Financial Services Authority) หนึ่งในสมาชิกของ ESMA เพื่อดำเนินธุรกิจ นั่นอาจทำให้เป็นการยากสำหรับหน่วยงานกำกับดูแลในการติดตามการซื้อขายแบบ HFT ทั้งหมดจากบริษัทที่ทางการต้องการข้อมูล
ด้านนายวิลเลียม การ์เนอร์ ทนายความจากบริษัทกฎหมายสปีชลี่ย์ เบอร์แชมในกรุงลอนดอนกล่าวว่า “นี่ถือเป็นสัญญาณบวกที่พวกเขา (ESMA) กำลังพยายามทำความเข้าใจอุตสาหกรรมนี้ก่อนที่พวกเขาจะทำการกำกับดูแล แต่นั่นก็ชี้ให้เห็นถึงสถานะที่ยากลำบากที่พวกเขาดำรงอยู่และการที่พวกเขาขาดอำนาจในการทำความเข้าใจในสิ่งซึ่งบริษัทค้าหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ถูกกำกับดูแลกำลังทำอยู่”
แบบสอบถามยังระบุอีกว่า คำตอบที่ตอบกลับมาให้ ESMA ซึ่งกำหนดการส่งแบบสอบถามเสร็จสิ้นไปตั้งแต่ 25 มีนาคมที่ผ่านมาแล้วนั้น “จะมีการปกปิดรายละเอียดของผู้ตอบคำถามไว้หลังจากรับแบบสอบถามกลับมาและก่อนการส่งต่อไปยังกลุ่มทำงานภายในของ ESMA เอง”
ที่มา Financial Times
แปลและเรียบเรียงโดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday