เครือข่ายองค์กรประชาสังคมมุสลิมภาคใต้ 23 องค์กร สุดทนปัญหาทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ 3 จังหวัดชายแดนล่วงละเมิดทางเพศซ้ำซาก ยื่นหนังสือถึงจุฬาราชมนตรี สมาชิกวุฒิสภา กองทัพภาคที่ 4 และศอ.บต.เร่งแก้ปัญหาด่วน
ภาพในคลิปวีดิโอล่าสุดที่มีการเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ที่มีคนแอบถ่ายทหารยศนายสิบคนหนึ่ง กระทำการลวนลามสตรีมุสลิมที่ทำงานเป็นบัณฑิตอาสาในที่ลับตาภายในค่ายทหาร ได้สร้างความสะเทือนใจให้กับมุสลิมในภาคใต้อย่างรุนแรง
ภาพในคลิปวีดิโอ เป็นภาพของทหารนายหนึ่งในชุดกางเกงขาสั้นใส่เสื้อทหารลำลองกับหญิงสาวมุสลิมที่ทำงานเป็นบัญฑิตอาสา ใส่เสื้อแขนยาวสีดำ กระโปรงยาวสีเขียว คลุมฮิญาบสีขาว นั่งเคียงคู่บนเก้าอี้ 2 ตัวในที่ลับตาคนแห่งหนึ่ง ซึ่งจากการบอกเล่าของคนแอบถ่ายคลิปวีดิโอ ระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในค่ายทหารแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ลับตา ดูได้จากทั้งคนพยายามมองรอบๆว่า มีคนเห็นหรือไม่ ในภาพทหารคนดังกล่าวโอบไหล่หญิงสาว เมื่อมองไม่มีคนเห็นก็ได้ดึงหน้าเธอมาจูบ หญิงสาวพยายามปัดป้องเล็กน้อยแต่ยังปล่อยให้ทหารจูบปากอย่างหนักหน่วงเมามัน ขณะที่ด้านล่างมือของเขาได้ล้วงเลื้อยเข้าไปในร่มผ้าของเธอเพื่อลูบคลำอวัยวะเพศ เหตุการณ์ดำเนินอยู่นานหลายนาทีจนทั้งคู่รู้สึกว่า มีคนผ่านมาจึงได้ผละจากการกอดจูบ แต่ยังนั่งเคียงคู่กัน
ก่อนหน้านี้ มีภาพคลิปวีดิโอปรากฎในเวบไซด์มุสลิมแห่งหนึ่ง เป็นภาพหญิงสาวนั่งเคียงคู่กับทหารริมทหารหาด และทหารคนดังกล่าว ก็ได้ล่วงเกินเธอด้วยการดึงมาจูบปากอย่างเมามันทั้งที่เป็นสถานที่สาธารณะที่มีคนเดินผ่านมาไปมาขวัดไขว่ ได้สร้างความสะเทือนใจให้กับคนมุสลิมที่เห็นภาพดังกล่าว เนื่องจากอิสลามมีกฎเคร่งครัดในเรื่องทางเพศ ผู้ชายกับหญิงสาวไม่อาจอยู่ด้วยกันในที่ลับตาคนตามลำพัง และหากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีพิธีทางศาสนาก็ถือเป็นบาปใหญ่ ที่มีการลงโทษอย่างรุนแรงในประเทศที่ปกครองด้วยกฎหมายอิสลาม โทษรุนแรงถึงขนาดศาลสั่งลงโทษให้ขว้างหินจนตาย ซึ่งการบังคับให้หญิงสาวมุสลิมคลุมฮิญาบก็เพื่อป้องกันพวกเธอจากการลวนลามทางเพศ แต่ไม่รอดพ้นทหารไทยใจกล้ากับเรื่องผู้หญิง
“สันดานหม…ขอให้ฉิ…หาย ตายให้หมด” เป็นถ้อยคำแสดงความแค้นเคืองที่ส่งผ่านทางอีเมลล์ แสดงให้เห็นถึงความอดกลั้นของมุสลิมที่เห็นภาพที่เกิดขึ้น
พฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำซากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะกับบัณฑิตอาสาผู้หญิงที่ทำงานในค่ายทหาร ความใกล้ชิดในการทำงานร่วมกับทหารทำให้พวกเธอตกเป็นเหยื่อทางเพศของบรรดาทหาร จนผู้นำศาสนาและองค์กรมุสลิมในพื้นที่ทนไม่ไหวต้องออกมายื่นหนังสือถึงจุฬาราชมนตรี แม่ทัพภาคที่ 4 ประธานอนุกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ฯ วุฒิสภา ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)เพื่อให้แก้ปัญหาอย่าวเร่งด่วนก่อนจะเกิดเหตุลุกลาม
ในหนังสือซึ่งลงนาม พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่าย ประชาสังคม 23 องค์กร ระบุว่า ด้วยเครือข่ายประชาสังคม 23 องค์กรได้รวมตัวกันทำงานเพื่อสังคมมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สังหารมุสลิมในมัสยิด อัล-ฟุรกอน อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ( กรกฎาคม 2552) ได้รับคลิปวีดิโอ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ท โดยในภาพเป็นมุสลิมะห์(มุสลิมผู้หญิง) แต่งกายนุ่งกระโปรง สวมเสื้อแขนยาว คลุมศีรษะ มิดชิด กำลังถูกชายในเครื่องแบบครึ่งท่อน กางเกงสีเขียว คล้ายทหารกำลังลวนลามทางเพศในที่ลับแห่งหนึ่ง โดยภาพนั้นได้มาจากการลักลอบถ่าย เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประมาณต้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๓
หนังสือระบุว่า พฤติกรรมทำนองเดียวกันนี้กำลังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะมุสลิมะห์ ที่รับเงินค่าจ้างพิเศษจากรัฐเดือนละ ๔,๕๐๐บาท ซึ่งภาพได้ถูกส่งต่อไปยังสังคมอินเทอร์เนทอย่างแพร่หลายและถูกกล่าวถึงมากยิ่งขึ้น อันจะทำให้ภาพพจน์ของมุสลิมะฮ์ในสังคมมุสลิมโดยส่วนรวมต้องเสียหาย อันอาจจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียทางคุณธรรมและจริยธรรมในหมู่เยาวชนและมุสลิมะห์ทั่วไป
“หากองค์กรที่รับผิดชอบต่างเพิกเฉย เราอาจจะพบกับการลงโทษของอัลลอฮฺ (ซบ.) ดังที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อิสลาม ที่ปรากฏหลายโองการในอายัต อัล-กุรอ่าน” หนังสือ ระบุ
เครือข่ายประชาสังคมจึงมติในที่ประชุมเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2553 ว่า ให้มีผู้แทนองค์กรเครือข่ายจัดทำหนังสือแจ้งเรื่องราวนี้ต่อท่าน เพื่อกรุณาทราบโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.เพื่อให้ท่าน(จุฬาราชมนตรี)ได้นัดหมายคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกจังหวัด บุคคลากรทางการศึกษา และผู้นำศาสนา มาร่วมปรึกษาหารือ หาทางออกร่วมกัน
2.นำผลจากการปรึกษาหารือ มอบหมายให้บุคคล หรือองค์กร ไปดำเนินการให้สังคมได้ตระหนักถึงความเสียหาย อันจะเกิดขึ้นทั้งในดุนยา(โลกนี้)และอาคีรัต(โลกหน้า)
3.ขอประสานความร่วมมือกับสื่อวิทยุและโทรทัศน์ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ช่อง ๑๑ ส่วนแยกยะลา)ได้เปิดพื้นที่ให้บุคคลากรหรือผู้นำศาสนาอิสลามได้เผยแพร่ความรู้ทางศาสนาให้มากขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักและป้องกันปัญหาดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมกับเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับสังคม
4.องค์กรประชาสังคม 23 องค์กร ยินดีร่วมมือกับท่านในกรณีนี้อย่างเต็มความสามารถ เพื่อการมีส่วนร่วมการแก้ไขปัญหาได้ประสบความสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมทั้งจากฝ่ายทหารและฝ่ายสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ข้อมูลจากนิตยสาร เอ็ม ทูเดย์ MTODAY ฉบับที่ 9 16 ก.พ.-15 มี.ค.2554
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 4267 ครั้ง