รูปภาพ : นายมูฮัมหมัด อัลจัสเซอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางซาอุดิอาระเบีย
ที่มา : Arab News
ซาอุดิอาระเบียจะยังคงตรึงค่าเงินริยัลของประเทศไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐฯต่อไปตราบที่เศรษฐกิจของซาอุเองยังต้องพึ่งพาการส่งออกน้ำมันอย่างมาก นายมูฮัมหมัด อัลจัสเซอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางซาอุดิอาระเบียหรือ SAMA (Saudi Arabia Monetary Agency) กล่าววานนี้ (จันทร์ที่ 25 เมษายน 2011)
เมื่อถูกถามว่า การตรึงค่าเงินริยัลกับดอลลาร์สหรัฐฯจะคงอยู่ไปตลอดกาลหรือไม่ สำนักข่าวรอยเตอร์ได้อ้างคำพูดของนายอัลจัสเซอร์ตามที่กล่าวในงานอีเวนต์ที่มหาวิทยาลัยในนครเจดดาห์ว่า “ไม่มีสิ่งใดอยู่ไปตลอดกาลในเศรษฐกิจ หากว่าสภาพแวดล้อมต่างๆเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากน้ำมันมีสัดส่วนคิดเป็น 10-15% ของเศรษฐกิจและเรามีเศรษฐกิจในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และการบริการ … ดังนั้นแล้วมันต้องมีการเปลี่ยนแปลงในด้านของมุมมอง”
“แต่ตราบใดที่เศรษฐกิจยังคงพึ่งพาผลิตภัณฑ์เดียวอย่างมากซึ่งก็คือ น้ำมัน ดังนั้นแล้วเงินดอลลาร์จะยังคงอยู่” เขากล่าว
อัลจัสเซอร์ได้กล่าวในงานพิธีการที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเอฟฟัต (Effat University) เพื่อแสดงความยินดีในการแต่งตั้งคณบดีด้านบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ซาอุดิอาระเบียตรึงค่าเงินริยัลไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐฯบนพื้นฐานของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจล้วนๆและการที่รัฐบาลวางแผนที่จะสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มเติมควรจะลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในอนาคต นายอัลจัสเซอร์กล่าว
“มันสำคัญที่จะชี้ให้เห็นว่า การตัดสินใจตรึงค่าเงินริยัลไว้กับเงินดอลลาร์นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจล้วนๆ นั่นเป็นเพราะว่า การตั้งราคาน้ำมันอยู่ในรูปของดอลลาร์และเนื่องจากว่าการนำเข้าของเราส่วนมากเป็นดอลลาร์” นายอลัจัสเซอร์กล่าว “เราคาดว่ารับสั่งของกษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่ให้มีการเพิ่มจำนวนที่อยู่อาศัยนั้นจะลดแรงกดดันเงินเฟ้อบางส่วนอันเป็นผลมาจากค่าเช่าได้ในอนาคต” เขากล่าวเสริม
“เมื่อดูจากพลวัตการส่งออกในปัจจุบันของเศรษฐกิจซาอุและการพึ่งพาการส่งออกน้ำมันของซาอุในฐานะที่เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญที่สุดเพียงแหล่งเดียว ตรรกะของการปรับเพิ่มค่าเงินจึงไม่สมเหตุสมผลอยู่แล้ว ณ จุดนี้ การปรับเพิ่มค่าเงินในวันนี้จะนำไปสู่การขาดทุนของรายได้จากการส่งออกน้ำมันโดยไม่จำเป็นเมื่อรายได้จากดอลลาร์ต้องถูกแปลงกับมาเป็นเงินริยัล มันดูไม่มีเหตุผลใดๆเลยที่จะต้องปรับเพิ่มค่าเงินในวันนี้และต้องลดค่าเงินอีกหลังจากนั้นไม่นาน” นายจอห์น สฟาเคียนาคิส (John Sfakianakis) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารแบงก์ ซาอุดิ ฟรานซี่ (Banque Saudi Fransi) กล่าว
“ประวัติศาสตร์ของค่าเงินซาอุดิอาระเบียเป็นที่รับรู้กันในแง่ของความต่อเนื่องและเสถียรภาพ ถ้าหากและเมื่อไรที่เศรษฐกิจสหรัฐฯและเงินดอลลาร์สหรัฐฯเองเกิดเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้าง จากนั้นซาอุดิอาระเบียจึงควรพิจารณืถึงผลประโยชน์และทางเลือกของชาติ” นายสฟาเคียนาคิสกล่าว
เงินริยัลของซาอุดิอาระเบียยังคงตรึงคงที่ไว้กับดอลลาร์สหรัฐฯที่ระดับ 3.75 ริยัลต่อดอลลาร์นับแต่ปี 1986 การตรึงค่าเงินนั้นก็เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาเสถียรภาพของมูลค่าภายในและภายนอกของสกุลเงินเอาไว้
ด้านบริษัทจ๊าดว่า อินเวสต์เมนต์ (Jadwa Investment) ในนครริยาดกล่าวในบทวิจัยก่อนหน้านี้ว่า พัฒนาการของตลาดน้ำมันยังคงนำไปสู่แรงกดดันต่อระบบการตรึงค่าเงินอยู่เรื่อยๆ การร่วงลงของราคาน้ำมันในปี 1993 ผนวกกับความกังวลเกี่ยวกับการขาดดุลงบประมาณและดุลบัญชีเดินสะพัดได้ก่อให้เกิดการเก็งกำไรในตลาดเงินขึ้นว่า เงินริยัลอาจมีการถูกลดค่าได้ เหตุการณ์ในทำนองเดียวกันนี้เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปลายปี 1998 จนถึงต้นปี 1999 เนื่องจากการผสมโรงกันของ 2 เหตุการณ์คือ ราคาน้ำมันที่ลดลงและวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชียซึ่งก่อให้เกิดการลดค่าเงินครั้งใหญ่ในภุมิภาค ในขณะนั้นธนาคารกลางซาอุดิอาระเบียประสบความสำเร็จในการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนด้วยสถานะของสินทรัพย์ในต่างประเทศปริมาณมหาศาลเพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินริยัล
อย่างไรก็ตาม นายจาร์โม ที. โคทีเลน (Jarmo T. Kotilaine) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารเนชั่นแนล คอมเมอร์เชียล แบงก์กล่าวว่า “เศรษฐกิจของซาอุนั้นแม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะอยุ่ในช่วงของการกระจายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็ยังคงอิงอยุ่กับเศรษฐกิจภาคน้ำมันเป็นหลักอยู่ ในภาวะที่ราคาน้ำมันยังคงซื้อขายเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มันจึงไม่มีเหตุผลที่มีน้ำหนักพอในการแทนที่ระบบการตรึงค่าเงินไว้กับดอลลาร์ในอนาคตอันใกล้นี้ มันยังคงตอบสนองระบบเศรษฐกิจได้ดีและสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาของความไร้เสถียรภาพมาได้ ดังนั้นนั่นจึงเป็นการเน้นย้ำถึงความน่าเชื่อถือของสถานะของ SAMA การออกจากระบบการตรึงค่าเงินไว้กับดอลลาร์นั้นไม่สมเหตุสมผลในทางปฏิบัติและจะเกิดขึ้นไม่ได้หากว่าตลาดการเงินของซาอุดิอาระเบียไม่สามารถพัฒนาระดับของความลึกและความซับซ้อนมากพอที่จะช่วยให้ฝ่ายต่างๆที่เกี่ียวข้องสามารถจัดการกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันได้”
แต่สิ่งที่ชัดเจนเช่นเดียวกับแนวโน้มที่การตรึงค่าเงินกับดอลลาร์จะยังคงอยู่ต่อไปนั่นก็คือ ตอนนี้มีความชัดเจนมากขึ้นถึงแนวโน้มต่างๆทั่วโลกซึ่งมีโอกาสที่จะนำเราไปสู่สถานการณ์ที่บทบาทระหว่างประเทศของดอลลาร์จะไม่ใช่เงินตราสกุลหลักของโลกอีกต่อไป บรรดาประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ชั้นนำมีความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มบทบาทในระดับโลกของเงินตราของตัวเองเนื่องจากน้ำหนักของเศรษฐกิจเหล่านี้ในระบบเศรษฐกิจโลกกำลังเพิ่มขึ้น แนวโน้มนี้และรวมถึงแนวโน้มที่กำลังเปลี่ยนไปของความต้องการในระบบเศรษฐกิจอาจนำไปสู่บทบาที่เสื่อลงของเงินดอลลาร์ในการครอบงำตลาดโภคภัณฑ์สำคัญๆเอาไว้เมื่อเวลาผ่านไป นอกจากนั้นแล้ว การถกเถียงถึงการตั้งระบบเงินตราสกุลใหม่ของโลกจะขยายตัวมากขึ้นเนื่องจากเกิดความกังวลมากขึ้นในความน่าเชื่อถือของนโยบายเศรษฐกิจในสหรัฐฯและยุโรป ขณะที่แม้ว่าในระยะสั้นจะไม่มีทางเลือกที่จะมาทดแทนดอลลาร์ได้ เรายังคงอยู่ในการคาดการณ์ซึ่ง ณ ปัจจุบันมองไปถึงการเปลี่ยนผ่านอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างมากแต่มีความต่อเนื่องไปยังระบบของเงินตราสกุลหลักหลายสกุลซึ่งบทบาทโดยเปรียบเทียบของเงินดอลลาร์นั้นจะค่อยๆลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ผลลัพธ์ในขั้นสุดท้ายอาจเป็นการเกิดขึ้นของเงินตราสกุลใหม่ของโลกเพียง 1 สกุลหรือหลายสกุลก็ได้
นายโคทีเลนกล่าวอย่างสมเหตุสมผลว่า ตราบใดที่ผู้เล่นในตลาดและผู้ดำเนินนโยบายยังมีความกังวลและความคับข้องใจอยู่ ผมไม่เห็นว่า สถานการณ์ในปัจจุบันจะเปลี่ยนไปมากนักไปอีกหลายปี แม้กระนั้นความน่าจะเป็นที่สถานการณ์จะมีการเปลี่ยนแปลงในทศวรรษที่กำลังจะมาถึงนี้ดูชัดเจนขึ้นกว่าชาวง 1-2 ปีที่แล้ว บางอย่างซึ่งจะสร้างความท้าทายใหม่ๆให้กับซาอุดิอาระเบียและภูมิภาคอ่าว แต่สิ่งที่สำคัญกว่าการถกเถียงถึงระบบอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ก็คือ ความพยายามอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาตลาดการเงินภายในประเทศและภูมิภาค สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มทางเลือกทางนโยบายให้กับหน่วยงานต่างๆเมื่อเวลผ่านไป
ขณะที่พูดถึงแผนการใช้จ่ายของซาอุดิอาระเบีย นายโคทีเลนกล่าวว่า “มันมีแนวโน้มว่า การจัดสรรทรัพยากรใหม่ๆลงไปที่การสร้างที่อยู่อาศัย เช่นเดียวกับการปรับใช้กฎหมายอสังหาริมทรัพย์จะช่วยแก้ไขความไม่สมดุลเชิงโครงสร้างและปัญหาคอขวดต่างๆในตลาดบ้านเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นแล้วก็จะช่วยลดภาวะเงินเฟ้ออันเกิดจากที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนผ่านจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าจะเริ่มจากจุดที่อัตราเงินเฟ้อจากค่าเช่าจะลดลงอย่างชัดเจนก็ตาม สิ่งที่จำเป็นพอๆกับการลงทุนในภาคที่อยู่อาสัยคือ มันจะต้องเกิดขึ้นไปพร้อมกับการกำกับดูแลอย่างระมัดระวังเพื่อควบคุมการเก็งกำไรและการบูมของตลาดบ้านแบบเดียวกับที่ตลาดในภูมิภาคประสบมาในช่วงทศวรรษที่แล้ว” เขากล่าวอีกว่า ความล้มเหลวในการควบคุมตลาดล้านในภาวะที่นโยบายการคลังมีการผ่อนคลายและสภาพคล่องเพิ่มสูงขึ้น อาจนำไปสู่การลดลงหรือแม้กระทั่งการกลับทิศทางของผลกระทบในแง่ของภาวะเงินฝืดจากการใช้นโยบายบางอย่างได้ (หมายถึงให้ระวังการกลับมาของเงินเฟ้อ)
ในด้านของเงินเฟ้อ นายพอล แกมเบิ้ล หัวหน้าฝ่ายวิจัยของจ๊าดว่า อินเวสต์เมนต์ กล่าวว่า “การเพิ่มขึ้นของปริมาณบ้านที่มีขนาดที่กำหนดในพระบรมราชโองการนั้นจะก่อให้เกิดการลดลงของเงินเฟ้อด้านค่าเช่าอย่างแน่นอนในระยะกลางเนื่องจากว่า มีบ้านใหม่ที่เข้ามาสู่ตลาด มันอาจก่อให้เกิดผลกระทบในระยะสั้นได้เช่นเดียวกันหากว่า โอกาสที่การสร้างบ้านใหม่นั้นจะลดแรงจูงใจไม่ให้คนบางกลุ่มเข้าสู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์และกระตุ้นให้คนกลุ่มอื่นซึ่งตอนนี้กำลังมองหาบ้านใหม่เลื่อนการเสาะหไปก่อน”
ที่มา Arab News
แปลและเรียบเรียงโดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday