จากกรณีที่รายการ “ตอบโจทย์” สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้สัมภาษณ์ “สนธิ ลิ้มทองกุล” แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ออกอากาศไปเมื่อวันที่ 2 -3 พ.ค. ที่ผ่านมา ในประเด็นที่ว่าด้วยความขัดแย้งและแตกแยกในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, ทำไมต้องโหวตโน รวมถึงมุมมองต่อชีวิต สังคม และการเมืองไทยในปัจจุบัน โดยนายสนธิได้ “ตอบโจทย์” ชี้แจงความจริงจนสิ้นสงสัย
ด้วยเหตุดังกล่าว ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ จึงนำบทสัมภาษณ์ “ฉบับเต็ม” มานำเสนอผู้อ่าน เพื่อเปิดใจ “สนธิ ลิ้มทองกุล แบบ “จัดเต็ม” อีกครั้ง !
ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา : ขอเริ่มจากประเด็นที่ถูกพาดพิง คุณสนธิปราศรัยบนเวที บอกว่าคนที่เป็นเสือ เวลาเจ็บไม่ร้อง มีแต่หมาเท่านั้นที่ร้อง อาจารย์เจิมศักดิ์มาให้สัมภาษณ์ในรายการตอบโจทย์ บอกกับคุณสนธิว่า แม้เป็นเสือเวลาเจ็บก็ร้องได้ ประชาชนจะได้เข้าใจ ตกลงเรื่องนี้ใครหมู่ใครจ่า ใครหมาใครเสือ
สนธิ : อันนี้เป็นสิทธิ์ของคุณเจิมศักดิที่แกจะพูด แต่ที่จริงโดยธรรมชาติแล้ว เสือกับหมา เวลาเสือมันเจ็บมันจะวิ่งเข้าป่าไปเลียแผล แล้วก็รอการแก้แค้น แต่หมานี่โดนเตะเข้าตูมเดียวก็ร้องเอ๋ง ในกรณีที่คุณเจิมศักดิ์บอกว่าเสือบางครั้งมันก็ร้อง ผมไม่ทราบว่าคุณเจิมศักดิ์เปรียบเทียบใครเป็นเสือ เปรียบเทียบผมเป็นเสือหรือเปล่า หมายความว่าผมเองก็ร้อง ผมไม่ทราบ เพราะผมไม่ใช่สัตว์
เพราะฉะนั้นเป็นสิทธิ์ของคุณเจิมศักดิ์ที่จะพูดไปได้ คุณเจิมศักดิ์อาจจะเข้าใจอะไรผิดบางสิ่งบางอย่าง ถ้าจำไม่ผิดในช่วงนั้นเป็นช่วงที่รายการคุณเจิมศักดิ์ถูกรัฐบาลชุดทักษิณ (ชินวัตร) ถอดออกหมด คุณเจิมศักดิ์ก็โวยวาย ถ้าเทียบกับรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางช่อง 9 ที่ผมถูกคุณทักษิณถอดออก ผมไม่โวยวาย แต่ผมสู้, สู้ด้วยวิธีของผม
ภิญโญ : แล้วต่างกันตรงไหนครับ การสู้กับการโวยวาย
สนธิ : โวยวายก็คือว่า มันต้องอมเลือดเป็นคนเรา ไม่ใช่ว่าโดนอะไรเล็กโดนอะไรน้อยก็แหกปากร้อง เรียกให้คนมาสนใจ การไม่โวยวายก็หมายความว่าเราต้องหาวิธีที่จะทำตามสิ่งที่เราเชื่อ ถามว่าสิ่งที่ผมทำในสมัยที่ผมทำเมืองไทยรายสัปดาห์ ผมเชื่อในสิ่งที่ผมทำไหม ผมเชื่อ, เมื่อถูกปิดกั้นแล้ว ผมทำได้อย่างเดียวก็คือต้องหาวิถีทางที่จะดำเนินการรายการต่อไป เพราะสิ่งที่ผมเชื่อนั้นคือสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นการให้ปัญญาคน
เพราะฉะนั้น ผมไม่ออกมาโวยวายว่าผมโดนกลั่นแกล้ง มีอยู่ข้อเดียวเท่านั้นที่ผมจำเป็นต้องสู้ในขณะนั้นก็คือ คุณมิ่งขวัญ (แสงสุวรรณ์) และท่านประธาน อสมท ตลอดจนคุณธงทอง (จันทรางศุ) สั่งปิดรายการด้วยเหตุผลหาว่าผมไปพาดพิงถึงในหลวง สถาบันกษัตริย์ ซึ่งผมก็ปฏิเสธ เพราะว่าเรื่องของเรื่องมันมาจากจดหมายเรื่อง “ลูกแกะหลงทาง” ผมก็เลยสู้ประเด็นนั้น แต่ผมไม่เคยว่าคุณทักษิณว่าเขามารังแกผม เพราะผมถือว่าอำนาจเขามี เพราะฉะนั้นแล้วผมก็ไม่ต่อต้านในอำนาจเขา เป็นเพียงแต่ว่าผมจะต้องซิกแซ็กหาวิธีที่จะเอาความรู้ของผมเข้าไปให้ประชาชนให้ได้ จะด้วยการพูดจาในหอประชุมธรรมศาสตร์ หรือการไปจัดรายการที่สวนลุมพินี ผมก็ทำไปอย่างนั้น ผมจะไม่ออกมาโวยวายเด็ดขาด
ภิญโญ : ทีนี้ช่วงที่ผ่านมา พันธมิตรฯ ก็คนเยอะ อุ่นหนาฝาคั่ง มิตรรักแฟนเพลงก็มากันเยอะ คนขึ้นเวทีก็เยอะ ช่วงหลังก็หายกันไปหลายคน อาจารย์เจิมศักดิ์พาดพิงบอกว่า แกนนำพันธมิตรฯ ช่วงหลังก็เลยมักใช้วิธีพูดซ้ำๆ พูดคนเดียว ใส่สีตีไข่ แล้วถ้าใครขัดก็ไม่ได้ ทำให้เกิดมีอีโก้มีอัตตาสูง คิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ไม่ฟังกัลยาณมิตรเลย
สนธิ : อาจารย์เจิมศักดิ์ชอบใช้วาทกรรมที่เวลาโต้เถียงกัน วาทกรรมบอกว่าใส่สีตีไข่ อาจารย์เจิมศักดิ์ไม่เคยพูดยกตัวอย่างว่าใส่สีตีไข่เรื่องอะไร แล้วก็คำว่ากัลยาณมิตรนี่เตือน ผมคิดว่าอาจารย์เจิมศักดิ์เข้าใจบทบาทท่านผิด เรียก “คุณเจิมศักดิ์” ดีกว่านะครับ เพราะว่าวันนี้ไม่ควรจะเป็นอาจารย์
ภิญโญ : ทำไมไม่ควรเรียกอาจารย์ครับ
สนธิ: ก็เพราะว่าคุณเจิมศักดิ์เข้ามาอยู่ในแวดวงของนักวิเคราะห์นักวิจารณ์และอยู่ในวงการสื่อมวลชน คุณเจิมศักดิ์ก็วิพากษ์วิจารณ์ตามองค์ความรู้เท่าที่คุณเจิมศักดิ์มี แล้วคุณเจิมศักดิ์ไม่ได้สอนอะไรให้ประชาชนเลย ถ้าคุณเจิมศักดิ์ยังเป็นนักวิเคราะห์และเป็นสื่อมวลชนจริง นั่นคือบทบาทที่คุณเจิมศักดิ์จะได้รับการเชิดชู แต่วันนี้สิ่งที่คุณเจิมศักดิ์บอกว่า “ใส่สีตีไข่” ทักท้วงก็ไม่ได้ เป็นลักษณะภาพสะท้อนของคนซึ่งเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นโฆษกของพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นโฆษกส่วนตัว เพราะฉะนั้นแล้วคุณเจิมศักดิ์ไม่มีสิทธิ์มาว่าพันธมิตรฯ ใส่สีตีไข่ เพราะว่าคุณเจิมศักดิ์ไม่เคยเอาเรื่องราวต่างๆ ที่ใส่สีตีไข่มาพูด
กรณีของไทย-กัมพูชา คนถามคุณเจิมศักดิ์ว่าคุณเจิมศักดิ์ทำไมไม่แสดงจุดยืนของคุณเจิมศักดิ์บ้าง คุณเจิมศักดิ์บอกว่าศึกษามาไม่พอ ปล่อยให้พวก “เทพ” เขาว่ากัน นี่คือลักษณะการประชดประชัน แล้วอีกอย่างหนึ่งถ้าคุณเจิมศักดิ์จะเป็นนักวิเคราะห์เหตุการณ์ จะเป็นคนซึ่งเอาปัญญาให้คน คุณเจิมศักดิ์จะใช้คำว่า “ศึกษามาไม่พอ” ไม่ได้
ภิญโญ : อาจารย์เจิมศักดิ์ให้สัมภาษณ์ในรายการตอบโจทย์บอกว่า ถ้าพูดภาษาชาวบ้านง่ายๆ คือ ประเด็นไทย-กัมพูชามันหน่อมแน้มไป พันธมิตรฯ เรียกร้องเว่อร์ไป
สนธิ : มันจะไปหน่อมแน้มได้ยังไงล่ะครับ เพราะประเด็นไทย-กัมพูชา มันเป็นประเด็นของหลักเขตแดน เป็นประเด็นที่เรายึดหลักสันปันน้ำ ตามสนธิสัญญาเดิมที่เรามี แต่เขมรไปยึดหลัก 1 ต่อ 200,000 ทีนี้ถ้าเรายอมให้เขมรใช้หลัก 1 ต่อ 200,000 เส้นที่มันลากต่อไปมันจะลากลงทะเล พอมันลากลงทะเลแล้วมันไปยังขุมพลังงาน มีมูลค่าหลายแสนล้าน ผมคิดว่าเมื่อมันนำไปสู่ขุมพลังงานแล้วทำให้ไทยเสียเปรียบ จากไทยเคยมีสิทธิ์อยู่ 3 ส่วน 5 กลายเป็นไทยเหลือแค่ 1 ส่วน 5 มันหน่อมแน้มได้ยังไงคุณเจิมศักดิ์
แล้วถ้าคิดว่ามันหน่อมแน้ม หลายเรื่องทำไมคุณเจิมศักดิ์ไม่เอามาพูดบ้าง อย่างเช่น กรณีของน้ำมันปาล์ม หรือกรณีของการทุจริตคอร์รัปชั่นสนามบินสุวรรณภูมิ คุณเจิมศักดิ์ไม่พูด อะไรคุณเจิมศักดิ์ก็ไม่พูด คุณเจิมศักดิ์จะมีชุดวาทกรรมบอกว่า ผมดูแล้ว คุณอภิสิทธิ์ยังไงก็ยังดีกว่าทักษิณ ประเด็นไม่ใช่อยู่ที่คุณอภิสิทธิ์ดีกว่าทักษิณ หรือไม่ดีกว่าทักษิณ ประเด็นก็คือว่า ถ้าคุณอภิสิทธิ์เป็นคนที่ใช้ไม่ได้ ทำไมคุณเจิมศักดิ์ไม่วิพากษ์วิจารณ์คุณอภิสิทธิ์เหมือนที่คุณเจิมศักดิ์วิพากษ์วิจารณ์คุณทักษิณ
ภิญโญ : อะไรที่ทำให้อาจารย์เจิมศักดิ์นิ่ง และไม่พูดในกรณีของคุณอภิสิทธิ์ครับ
สนธิ : ผมเข้าใจว่าคุณเจิมศักดิ์คือโฆษกของพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่เป็นทางการ ตั้งแต่พรรคประชาธิปัตย์เข้ามามีอำนาจ คุณเจิมศักดิ์ก็ได้เวลาโทรทัศน์เวลาวิทยุเต็มไปหมดเลย
ภิญโญ : แกบอกแกได้อยู่ก่อนแล้วครับ ทำมา 20 ปีแล้ว
สนธิ : แกทำมา 20 ปี แต่แกก็หายไปนี่ ช่อง 11 แกก็ไม่ได้ทำมานาน
ภิญโญ : ทีนี้นอกจากกรณีอาจารย์เจิมศักดิ์, อดีตพันธมิตรฯ หลายคนก็ถูกคุณสนธิ และสมาชิกปัจจุบันพาดพิง ก็เลยมองเป็นว่า ตกลงพันธมิตรฯ แตกกันหรือเปล่า
สนธิ : ใครครับ
ภิญโญ : คุณอัญชะลี ไพรีรัก ก็ไม่ได้ขึ้นเวทีอีก ท่านสมณะจันทร์ก็ไม่ได้ขึ้นเวทีอีก
สนธิ : ต้องแยกเป็นกรณีๆ ไป คือ คุณภิญโญต้องเข้าใจว่าในการต่อสู้ครั้งแรกมันเป็นการที่เขาเรียกว่า สร้างแนวร่วม ก็คือการที่คนทุกคนที่เกลียดคุณทักษิณเข้ามาร่วมกัน ทีนี้ในส่วนของคนที่เกลียดคุณทักษิณก็มีคนที่มาห้อยโหน พวกประชาธิปัตย์เอย พวกคนที่รักพรรคประชาธิปัตย์เอย พวกหม่อมเจ้าหม่อมราชวงศ์ พวกไฮโซไฮซ้อที่อยู่แถวสุขุมวิทก็เข้ามาร่วม พอคุณอภิสิทธิ์ได้เป็นนายกฯ ดั่งใจแล้ว พวกนี้ก็เชียร์คุณอภิสิทธิ์ ผมเองก็ชอบคุณอภิสิทธิ์ตั้งแต่ต้น แต่มารับคุณอภิสิทธิ์ไม่ได้
ภิญโญ : ตอนไหนครับ
สนธิ : หลังจากที่คุณอภิสิทธิ์ทำงานไปแล้วก็จับได้ว่าแกโกหก, แกโกหกหลายเรื่อง
ภิญโญ : เรื่องอะไรที่เป็นเรื่องหลักๆ ที่ทำให้คุณสนธิคิดว่าเป็นจุดเปลี่ยน
สนธิ : ผมคิดว่าเรื่องเขมรนี่แกโกหกจนจับได้ทุกเรื่อง ทุกคำพูดแกโกหกหมด แล้วก็อีกหลายเรื่อง แกให้ปฏิญญา 9 ข้อ ตอนที่แกขึ้นมาว่าแกจะทำให้ประเทศไทย 9 ข้อ แกไม่ได้ทำเลย แกจะแก้การเมืองที่ล้มเหลว แกก็ไม่ได้แก้การเมืองที่ล้มเหลว แกจะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น แกก็ไม่ได้แก้ปัญหาคอร์รัปชั่น แกจะแก้โน่นแก้นี่ คือแกไม่ได้ทำทั้ง 9 ข้อ แกโกหกหมดเลย ด้วยเหตุนี้เราก็เริ่มมาวิพากษ์วิจารณ์คุณอภิสิทธิ์
ทีนี้คนที่เป็นพันธมิตรฯ ส่วนหนึ่งก็อยู่กับเรา อยู่ในเอเอสทีวี อย่างคุณอัญชะลี ไพรีรักก็อยู่, จู่ๆ คุณอัญชะลีไม่มาขึ้นเวที ประชาชนเขาก็ถามสิ ว่าเกิดอะไรขึ้น คุณอัญชะลีถึงไม่มาขึ้นเวที คุณอัญชะลีต้องตอบประชาชน ไม่ใช่ผมตอบ สรุปง่ายๆ ว่าประชาชนต้องการคำตอบคุณอัญชะลี แต่คุณอัญชะลีให้คำตอบไม่ได้ เหตุผลที่คุณอัญชะลีให้คำตอบไม่ได้ เพราะ หนึ่ง-คุณอัญชะลีสนิทสนมกับคุณจุติ ไกรฤกษ์ เพราะคุณอัญชะลีชอบพูดว่าเป็นญาติอยู่บ้านคุณจุติ ไกรฤกษ์มาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว พอคุณจุติมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงไอซีที คุณอัญชะลีก็ไปนั่งอยู่หน้าห้อง
แล้วคุณอัญชะลีก็สนิทกับคุณวัฒนา อัศวเหม เรียกคุณวัฒนาว่า “ลุงวัฒน์” ตลอดเวลา พ่อคุณอัญชะลีก็สนิทกับคุณวัฒนา อัศวเหม คือเรื่องของคุณอัญชะลีผมพอเข้าใจส่วนตัวว่าคุณอัญชะลีสนิทกับคุณจุติ ไกรฤกษ์ แล้วจะให้มาขึ้นเวที มาวิพากษ์วิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์ หรือนายกฯ อภิสิทธิ์ ก็ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะว่าคุณจุติคงไม่พอใจ ในขณะเดียวกันถ้าคุณอัญชะลีมาขึ้นเวที แล้วมาร่วมกับพวกเรา แล้วอาจารย์ปานเทพ อาจารย์เทพมนตรี ก็วิพากษ์วิจารณ์นายฮุนเซน ก็จะมีผลกระทบต่อลุงวัฒน์ของคุณอัญชะลี
ภิญโญ : เพราะอะไรครับ
สนธิ : ก็เพราะคุณวัฒนาหนีคดีไปอยู่เขมร ได้พาสปอร์ตเขมร ฮุนเซนก็ดูแลอยู่ แล้วคุณอัญชะลีก็สนิทสนมกับคุณวัฒนามาก ด้วยเหตุนี้ผมก็เลยเข้าใจ แต่ประชาชนเขาไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นแล้ว คุณอัญชะลีต้องตอบประชาชน เมื่อตอบประชาชนไม่ได้ ก็เลยเข้าไปใช้เฟซบุ๊กของตัวเองไปกระทบกระทั่งคนโน้นคนนี้บนเวที ไม่ว่าจะเป็นคุณประพันธ์เอย คุณชัชวาลย์เอย เมื่อเขาถูกระทบกระทั่ง เขาก็เลยตอบโต้เอา มันก็เลยเป็นภาพนี้
ส่วนท่านสมณะจันทร์นี่ ผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องท่าน แต่รู้ว่าท่านชอบมาขึ้นเวทีแล้วมาบอกว่า มาชุมนุมกันทำไม มากีดขวางการจราจรทำไม ซึ่งมันเป็นตรงกันข้ามกับทิศทาง คุณจำลอง ศรีเมือง ซึ่งท่านอยู่สันติอโศก ท่านเป็นคนบอกเองว่า ผมเสนอว่าอย่าเอาท่านจันทร์ขึ้นเวที เพราะท่านสมณะจันทร์กำลังพูดในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่พวกเรากำลังจะทำ เพราะฉะนั้นการชุมนุมทุกแห่ง การขึ้นเวทีทุกแห่ง ถ้าใครคนใดคนหนึ่งขึ้นไป ไม่ว่าเสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อชมพู เสื้อฟ้า เสื้อขาว ถ้าใครขึ้นไปพูดในสิ่งซึ่งสีเสื้อนั้นหรือว่ากลุ่มผู้ชุมนุมตั้งเป้าอยู่ ก็ไม่มีใครปล่อยให้ขึ้น ปล่อยให้ขึ้นไม่ได้ มันผิดทิศทางหมด
ภิญโญ : ท่านจันทร์บอกว่าต่อไปคุณสนธิจะแตกกับพล.ต.จำลอง ศรีเมือง
สนธิ : อันนั้นก็ให้ท่านจันทร์รอดูต่อไป ผมก็ไม่รู้จะพูดยังไง ผมคิดว่าถ้าผมจะแตกกับพล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก็แตกด้วยเหตุผลข้อเดียว
ภิญโญ : คืออะไรครับ
สนธิ : พล.ต.จำลองเปลี่ยนไป หรือผมเปลี่ยนไป ถ้าผมเปลี่ยนไป ผมไม่ยึดถือหลักการ ผมไม่ยึดถือความถูกต้อง พล.ต.จำลองก็ไม่คบผม เช่นกัน ฉันใดก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้นแล้วความผูกพันของพวกเรา มันผูกพันกันอยู่ตรงที่จิตอุดมการณ์มันเหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล้วการแตกหรือไม่แตก ก็ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์ของแต่ละคน
ภิญโญ : อะไรที่ยึดกุมคุณสนธิกับพล.ต.จำลองไว้ อะไรคือความเห็นร่วมกัน
สนธิ : ผมคิดว่าถ้าเราจะใช้หลักทางพุทธศาสนา ก็คือ ใช้ธรรมอันเดียวกัน คือ ความจริง การออกมาครั้งนี้คนที่เริ่มต้นคนแรกคือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พล.ต.จำลอง เป็นคนพูดกับผมเองว่า สนธิ ผมยอมไม่ได้ให้ประเทศไทยเสียดินแดน ผมจะออกไปประท้วงนะ แต่สนธิไม่ออกไปก็ได้นะ
ภิญโญ : แล้วทำไมคุณสนธิถึงออกไปครับ
สนธิ : ก็เพราะมันเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่จะต้องทำ มันเป็นธรรมอันเดียวกัน คือพี่ลองทำอะไร จะไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาเป็นเรื่องส่วนรวม สิ่งที่พี่ลองทำเป็นเรื่องส่วนรวมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นแล้วผมมีความเชื่อใจในตัวพล.ต.จำลอง 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วผมก็มีปัญญาของผมวิเคราะห์เองได้ แล้วผมก็วิเคราะห์เหตุการณ์ไทย-กัมพูชา วิเคราะห์การตัดสินใจของนายกฯ อภิสิทธิ์ วิเคราะห์ทุกเรื่อง ผมก็เห็นว่าพี่ลองพูดถูกต้องทุกเรื่องเลย
แล้วที่นายกฯ อภิสิทธิ์ไปที่สนามกีฬาไทยญี่ปุ่นดินแดง ไปรับปากรับประกันว่าจะไม่มีวันเสียดินแดน นายกฯ อภิสิทธิ์เคยพูดว่า 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของไทย แล้วตอนหลังก็โกหกบอกว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อนไปแล้ว คือเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แล้วนายกฯ อภิสิทธิ์ไม่เคยใช้เหตุผลที่ถูกต้องหรือตรรกะที่ถูกต้องได้ว่า ทำไมนายกฯ อภิสิทธิ์ถึงไม่ยกเลิก MOU2543 ซึ่งแกพูดไม่ได้เลย แกพูดแค่ว่า มีประโยชน์ มีประโยชน์ตรงไหน จนวันนี้ฆ่ากันจะตายแถวสุรินทร์ ยิงกันอีกแล้ว นายกฯ อภิสิทธิ์ก็ไม่พูดถึง MOU2543อีกเลย
ภิญโญ : ทำไมไม่กล้ายกเลิกครับ
สนธิ : ผมก็ไม่ทราบ คุณต้องไปถามนายกฯ อภิสิทธิ์ ผมเองก็งงว่าทำไมคุณถึงไม่กล้ายกเลิก
ภิญโญ : ตั้งแต่ประท้วงกันหน้าทำเนียบรัฐบาล คุณสนธิเคยยกหูหาคุณอภิสิทธิ์ หรือคุณอภิสิทธิ์ให้คนโทร.มาหาคุณสนธิไหมครับ
สนธิ : ไม่เคยครับ แต่เราเคยพบกัน 3-4 ครั้ง ตอนที่คุณอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ ใหม่ๆ พบกันที่บ้านคุณกอรปศักดิ์ (สภาวสุ) ผมเข้าใจว่าตอนนั้นเขาไปขอความเห็นผม ผมก็ให้ความเห็นเขา เวลาคุยด้วยส่วนตัวเขาคุยดี เหมือนจะเข้าใจทุกเรื่อง ตกลง แต่พอลับหลังไปแล้วไม่ทำสักเรื่องหนึ่ง ไม่ทำเลยแม้แต่เรื่องเดียว
ภิญโญ : คุณสนธิวิเคราะห์ได้ไหมครับว่าเป็นเพราะอะไร
สนธิ : ผมเข้าใจว่าคุณอภิสิทธิ์เป็นคนลักษณะแบบนี้ คือพูดจาให้ดี แตะทุกคนเอาไว้ เหมือนที่คุณอภิสิทธิ์คุยกับคุณอานันท์ ปันยารชุน กับคุณหมอประเวศ วะสี เรื่องปฏิรูปบ้านเมือง เสร็จแล้วคุณอภิสิทธิ์ต้องการที่จะชะลอความกดดันก็เลยใช้คุณอานันท์กับคุณประเวศ พอใช้เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จัดงบประมาณให้ก้อนหนึ่งไป แล้วคุณอภิสิทธิ์ก็ทิ้งแล้ว วันนี้คุณอภิสิทธิ์ไม่พูดถึงงานปฏิรูปการเมืองของคุณอานันท์ ปันยารชุน งานปฏิรูปการเมืองของหมอประเวศ วะสี นี่คือนิสัยของคุณอภิสิทธิ์
ภิญโญ : ตกลงคุณสนธิกำลังจะบอกว่าคุณอภิสิทธิ์ต้มคนแก่หรือครับ ต้มคุณอานันท์ หมอประเวศ และคุณสนธิเอง
สนธิ : ผมว่าคุณอภิสิทธิ์กำลังต้มคนไทยทั้งประเทศ โดยมีคุณเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ณ วันนี้เป็นหัวหอกอย่างไม่เป็นทางการ ออกมาปกป้องคุณอภิสิทธิ์ เพราะฉะนั้นแล้วใครก็ตามที่โจมตีคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในเรื่องการทำงาน ก็จะโดนกระบวนการของคุณอภิสิทธิ์
ภิญโญ: แล้วตกลงพรรคการเมืองใหม่ ใครต้มใครครับ
สนธิ : คุณภิญโญต้องทราบที่มาที่ไปของพรรคการเมืองใหม่ก่อน ถึงจะเข้าใจ หลังการชุมนุม 193 วันแล้ว เรามีการคุยกันว่าเราจะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองยังไงต่อ ผมวันนั้นผมก็อยากจะกลับมาทำเอเอสทีวี ทำหนังสือพิมพ์ ทำเว็บไซต์ผมเหมือนเดิม คนที่อยากจะตั้งพรรคก็คือคุณสุริยะใส กตะศิลา และคุณสมศักดิ์ โกศัยสุข ผมก็ค้าน ค้านมาตลอด แล้วในที่สุดก็เลยมีมติว่า ถ้าอย่างนั้นเรียกประชุมพันธมิตรฯ
ภิญโญ : ทำไมคุณสนธิถึงค้านไม่อยากตั้งพรรคการเมือง
สนธิ : ผมมีความรู้สึกว่า ผมอยากจะอยู่กับสื่อ มีความรู้สึกว่าผมอยากจะอยู่กับมันและพัฒนามันต่อไป เพราะผมไม่มีเวลาทำงานกับมันเลยแม้แต่นิดเดียว อยากจะเข้าไปสัมผัสเด็กรุ่นหลัง แล้วก็ฝึกอบรมเขา ให้องค์ความรู้เขา เพราะเวลาผมไม่มีในช่วงหลัง ผมก็เลยอยากจะอยู่กับสื่อ แต่เผอิญก็อย่างว่าล่ะ เรา 5 คน เวลามีมติกันแล้วมันก็ผูกมัดกัน ก็ต้องไป ก็เลยมีความคิดว่า ถ้าอย่างนั้นลองประชุมใหญ่พันธมิตรฯ แล้วก็ถามความเห็นกัน ในที่สุดแล้ว เขาก็มีมติ 70-80 % ที่จะตั้งพรรคกัน คนที่อยู่กับผมหลายคนก็ไม่เห็นด้วย คุณสุรวิชช์ วีรวรรณก็ไม่เห็นด้วย บอกไม่ควรจะตั้ง
พอตั้งขึ้นมาปั๊บ มันก็มีคำถามว่า พรรคการเมืองใหม่จะเลือกใครเป็นหัวหน้าพรรค ก็ต้องยอมรับว่า พันธมิตรฯ เป็นกลุ่มมวลชนที่ไม่ใช่หัวแข็ง แต่เป็นคนมีปัญญา ใครไปสั่งหันซ้ายหันขวาไม่ได้ ทีนี้ทางเหนือ ทางตะวันออก ทางอีสาน ทางใต้ เขาก็มีแกนนำของเขา เขาก็เสนอกันมาเต็มไปหมดเลย คุณสมศักดิ์ก็จะถูกเสนอ คนโน้นก็จะถูกเสนอ คนนี้ก็จะถูกเสนอ มันกลายเป็นเบี้ยหัวแตก มันคงจะยกมือและสู้กันแหลกในที่ประชุม ในที่สุดแล้วคนก็เลยมาบอกว่าเอาผมเป็นหัวหน้าพรรค ทุกคนก็เลยยอมหมด คุณประพันธ์เป็นคนเริ่มตัวนี้ คุณประพันธ์ไปปราศรัยที่หาดใหญ่ก่อนที่จะมีการตั้งพรรคการเมืองใหม่เสียด้วยซ้ำ ว่าเสนอให้ผมเป็นหัวหน้าพรรค ลึกๆ ผมยังฉุนคุณประพันธ์เลย ฉุนเพราะว่า ไปดึงชื่อผมขึ้นมา ผมอยู่ของผมเฉยๆ
ภิญโญ : คุณสนธิไม่เคยอยากเป็นเลยหรือครับ หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่
สนธิ : ไม่เคยอยากเป็นเลยครับ ไม่เคยอยากเป็นเลย แต่เหตุผลที่จำเป็นต้องเป็นในช่วงนั้นมี 2 เหตุผล ผมก็บอกว่าถ้าผมเป็นหัวหน้าพรรคผมจะเป็นชั่วคราว ให้พรรคมันก่อตั้งแล้วผมไม่ลงเลือกตั้งนะ แล้วผมจะลาออก
ภิญโญ : แต่ก่อนหน้านั้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้า คุณสนธิปราศรัยว่าจะไม่รับตำแหน่งทางการเมือง
สนธิ : มันขึ้นอยู่กับนัยที่คุณภิญโญต้องตีความว่า ตำแหน่งทางการเมืองคืออะไร สำหรับผมแล้วตำแหน่งทางการเมืองคือตำแหน่งที่เป็นการเมืองจริงๆ คือ เป็นรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษา เป็นเลขาธิการนายกฯ หรืออะไรทำนองนี้ แต่การที่เป็นหัวหน้าพรรคชั่วคราวเพื่อก่อตั้งขึ้นมาแล้วให้พรรคมันอยู่ได้แล้วลาออก ผมไม่ได้ถือว่านี่เป็นตำแหน่งทางการเมือง เหมือนกับเป็นตำแหน่งทางบริหารเพื่อจัดรูปแบบของพรรคให้มันเกิดขึ้น ให้มีสำนักงาน ให้มีหน่วยงานฝึกอบรม หน่วยงานวิชาการ ให้วางนโยบายเสร็จเรียบร้อยแล้วผมก็ลาออก ซึ่งผมก็ลาออกจริง ผมอยู่สั้นๆ ผมอยู่ประมาณไม่ถึงปีด้วยซ้ำ ผมก็ลาออก
ภิญโญ : ทีนี้พรรคก็ตั้งแล้ว การเลือกตั้งก็กำลังจะมาถึง ทำไมไม่ปล่อยให้เลือกตั้งแล้ววัดความนิยมของพรรคการเมืองใหม่ไปเลยล่ะครับ
สนธิ : นี่ล่ะคือปัญหาใหญ่ เพราะว่าเรามาสรุปในการประชุมพันธมิตรฯ มีผม มีคุณสมศักดิ์ มีคุณสมเกียรติ (พงษ์ไพบูลย์) มีคุณพิภพ (ธงไชย) และมี พล.ต.จำลอง เรามาประชุมแล้วมีความเห็นว่า ถ้าการเมืองระบบมันเป็นอย่างนี้อยู่ มันจะเป็นลักษณะ “อัปรีย์ไปจัญไรมา” มันไม่มีอะไรดีขึ้น เพราะฉะนั้นแล้ว เราเป็นคนบอกคุณสมศักดิ์ในฐานะซึ่งคุณสมศักดิ์เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ แล้วคุณสมศักดิ์เป็นตัวแทนของพันธมิตรฯ ที่ส่งไปเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ เพราะว่าตอนที่เลือกหัวหน้าพรรคคนต่อมาจากผม มีหลายคนจะสมัครแข่ง เรามีมติว่า ส่งคุณสมศักดิ์ไปเป็นหัวหน้าพรรคก็แล้วกัน แล้วผมนี่เป็นคนไปพูดกับคนที่จะลงสมัคร บอกให้ถอนตัวดีกว่า ไม่อยากให้ทะเลาะกันในพรรค คุณสมศักดิ์ก็คือเป็นตัวแทนของแกนนำพันธมิตรฯ ไปเป็นหัวหน้าพรรค เพราะฉะนั้นคุณสมศักดิ์จะต้องนำฉันทามติของแกนนำไปชี้แจงให้กับสมาชิกพรรคการเมืองใหม่ และไปชี้แจงกับกรรมการบริหารพรรค
ภิญโญ : เป็นฉันทามติหรือเถ้าแก่สั่งครับ
สนธิ : ไม่มี, จะเป็นเถ้าแก่ได้ยังไง แสดงว่าคุณไม่ได้ฟังรายการที่ออกมาเมื่อคืนวันจันทร์…
ภิญโญ : เขาย้อนคุณสนธิกลับมาครับ ผมก็ฟังรายการคุณสนธิอยู่
สนธิ : ไม่ครับๆ เพราะว่าคนซึ่งมีมติให้ “โหวตโน” ไม่ใช่ผม ผมไม่รู้เรื่องเลย ผมมีมติอยู่อย่างเดียวว่า พรรคการเมืองใหม่ไม่ควรที่จะส่ง ไม่ควรที่จะส่งนักการเมืองลง แต่โหวตโนนี่เป็นการประชุมอีกครั้งหนึ่ง การประชุมอีกครั้งหนึ่งที่ประกอบด้วยพันธมิตรฯ รุ่น 1 รุ่น 2 และประกอบด้วยคณะกรรมการปกป้องแผ่นดิน 17 คน ซึ่งผมไม่ได้อยู่ ผมไปรักษาตัว แล้วก็มีการเสนอว่าถ้าอย่างนั้นใช้โหวตโนก็แล้วกัน ซึ่งเป็นการแสดงความรู้สึกว่าเราไม่เห็นด้วยกับระบบการเมืองปัจจุบัน
ภิญโญ : โหวตโนนี่ใครเป็นคนคิดขึ้นมาครับ
สนธิ : อย่าไปรู้เลย ผมขี้เกียจให้คนนั้นเป็นเป้า เอาเป็นว่า เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผมกลับมา คุณจำลองบอก สนธิ พวกเราเอาอย่างนี้นะ ผมก็บอกว่า เอาก็เอาสิพี่, เอาก็เอา เพราะฉะนั้นแล้วคนซึ่งมาว่าผมเป็นเถ้าแก่นี่เข้าใจผมผิดหมดเลย ผมไม่ได้รู้เรื่องเลย แต่ไม่เป็นไร ผมไม่ถือสาหรอก เพราะว่า… โทษนะครับคุณภิญโญ โทษนะครับท่านผู้ชม… ทุกวันนี้อะไรๆ ก็กูอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อเป็นแกนนำ หรือเป็นผู้นำมวลชน ต้องยอมรับอาวุธต่างๆ ที่เขาใส่ให้
ด้วยเหตุนี้มันก็เลยเกิดกระบวนการต่อไป แล้วพรรคการเมืองใหม่จะเอาอย่างไร คุณสมศักดิ์เขาก็เห็นด้วยนะกับการไม่ส่งลง แกก็ยังบอกว่า แต่ผมต้องเอาไปหารือกับสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรคก่อน จนกระทั่งพัฒนาต่อมาถึงการลงคะแนนเสียงเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมานี้ เมื่อการลงคะแนนเสียงแล้ว คนประมาณพันกว่าคน เกือบสองพันคน 90%บอกว่าให้โหวตโน คุณสมศักดิ์ในฐานะหัวหน้าพรรค สามารถที่จะใช้มติในการลงคะแนนเสียงครั้งนั้นเป็นมติไปเลย แต่คุณสมศักดิ์ไม่ใช้ คุณสมศักดิ์กลับไปใช้ว่า ถือว่าเป็นการรับฟังความคิดเห็น เมื่อรับฟังความคิดเห็นแล้ว คุณสมศักดิ์ก็จะเอาความคิดเห็นนี้ไปหารือกับกรรมการบริหาร เพราะตามกฎหมายแล้วกรรมการบริหารมีสิทธิตัดสินใจ ผมก็ไม่ได้ว่าอะไร ไม่ได้ยุ่งเลย สุดแล้วแต่พรรคการเมืองใหม่ ถ้าพรรคการเมืองใหม่เดินสวนทางกับพันธมิตรฯ ก็ไม่เป็นไร เป็นสิทธิที่พรรคการเมืองใหม่ทำได้ แต่พันธมิตรฯ ก็จะเดินหน้าโหวตโนอย่างเดียว ซึ่งเมื่อโหวตโนแล้ว เราก็จะโหวตโนทุกพรรค รวมไปจนถึงพรรคการเมืองใหม่ด้วย
ภิญโญ : คุณสนธิก็เลยปราศรัยบนเวที บอกว่า กระสันกันนักอยากจะเป็น ส.ส. หลงลาภ หลงยศ
สนธิ : คือโดยเบื้องหลังแล้วมันมีคนที่อยากจะลงปาร์ตี้ลิสต์ คนคิดง่ายๆ ว่า เฉพาะกรุงเทพฯ อย่างเดียว คราวที่แล้วเลือกตั้ง ส.ก.-ส.ข.ถึงแม้พรรคการเมืองใหม่จะไม่ได้ แต่ก็มีเสียงบริสุทธิ์แสนกว่าเสียง เขาก็มองว่าเสียงบริสุทธิ์ของพรรคการเมืองใหม่ทั่วประเทศน่าจะมีสักล้านสองล้านเสียง เพราะฉะนั้นแล้วปาร์ตี้ลิสต์ 1 2 3 4 5 น่าจะได้กัน ก็เลยขยันกันหาเสียง ขยันกันมาโจมตีพันธมิตร โจมตีแกนนำพันธมิตรฯ โจมตีผม คือตัวเองอยากลง ตัวเองเป็นใครผมไม่รู้ แต่มีประธานสาขาพรรคซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่น อยากจะลง ส.ส. ก็เลยพลิกประเด็น คือ เรามองภาพใหญ่มากกว่า มองการปฏิรูปทางการเมืองมากกว่าการส่งคนลงปาร์ตี้ลิสต์ 4-5 คน แล้วได้ 4-5 คน แล้วเข้าไปนั่งปั้นจิ้มปั้นเจ๋ออยู่ในสภา แล้วก็ไปอยู่ในวังวนของน้ำเน่าเหมือนเดิม เรากลับมองว่า อย่าเพิ่งลงตอนนี้ได้ไหม ลงงวดหน้า แต่ออกมาทำงานร่วมกัน ทำโหวตโนร่วมกันเพื่อให้ประชาชนเห็นว่าระบบการเมืองปัจจุบันมันไปไม่รอดแล้ว แล้วรอจังหวะที่ดี แล้วค่อยลงงวดหน้า เขาไม่รอกัน ก็เรื่องของเขา
ภิญโญ : ทีนี้คนเขาถามว่า โหวตโนแล้ว so what โหวตโนแล้วไปยังไงต่อครับ
สนธิ : คือโหวตโนมันไม่เหมือนปฏิรูปการเมืองที่คุณอานันท์เขาทำหรือที่หมอประเวศทำ โหวตโนคือการออกไปแสดงสิทธิ คุณไม่จำเป็นต้องเป็นพันธมิตรฯ คุณไม่จำเป็นต้องชอบผม แต่ถ้าคุณโหวตโนแสดงว่าคุณไม่ชอบพรรคทุกพรรค เราก็ไม่ชอบพรรคทุกพรรค เราถึงโหวตโน แต่ว่านัยเบื้องหลังของการไม่ชอบพรรคทุกพรรคนั้นคือว่าเราไม่ชอบระบบการเมืองปัจจุบัน เพราะระบบการเมืองปัจจุบันมันเป็นระบบบริษัทพรรคการเมืองจำกัด เป็นบริษัทพรรคประชาธิปัตย์, บริษัทพรรคเพื่อไทย
เพราะฉะนั้นพรรคการเมืองปัจจุบัน มันไม่ได้เลือก ส.ส. เข้าไปเพื่อทำหน้าที่นิติบัญญัติ มันเลือก ส.ส. เข้าไปเพื่อเลือกคนเป็นนายกฯ แล้วก็เพื่อยกมือให้กับนโยบายของมัน ด้วยเหตุนี้ เขาไม่จำเป็นต้องเป็นพันธมิตรฯ เขาไม่จำเป็นต้องชอบผม แต่ถ้าเขาโหวตโนแสดงว่าเขาคิดเหมือนเรา เมื่อคิดเหมือนเรา คนที่คิดเหมือนเรา สามารถที่จะรวมเป็นพลัง ถ้าสมมติมีคนโหวตโนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน มันจะมีผลทางการเมืองมาก มันจะมีผลตรงที่ว่า มันจะก่อให้เกิดจริยธรรมทางการเมือง ว่าคนอย่างน้อย 5 ล้านคน แล้ว 5 ล้านคนนี้ มีอิทธิพลมากพอ และมีจำนวนมากกว่าคนที่ลงปาร์ตี้ลิสต์ทุกๆ พรรค สมมติว่าแยกพรรคประชาธิปัตย์ออก แยกพรรคเพื่อไทยออก เผลอๆ 5 ล้านคนยังจะมากกว่าปาร์ตี้ลิสต์ของประชาธิปัตย์ มากกว่าปาร์ตี้ลิสต์ของเพื่อไทย
ภิญโญ : ถ้าอย่างนั้น ทำไมไม่ให้ 5 ล้านคนนั้นโหวตให้พรรคการเมืองใหม่เสียเลย
สนธิ : ไม่ได้ๆ เพราะว่าพรรคการเมืองใหม่เป็นพรรคที่บางคนเขาไม่ชอบ เป็นสิทธิของเขา แต่ว่าถ้าระบบแล้วนี่เขาเห็นด้วย เห็นด้วยกันหมดเลย
ภิญโญ : คุณสนธิเอาความมั่นใจมาจากไหนครับ ทั้งๆ ที่คุณอานันท์ ปันยารชุน ก็พูดเรื่องปฏิรูปการ
ด้วยเหตุดังกล่าว ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ จึงนำบทสัมภาษณ์ “ฉบับเต็ม” มานำเสนอผู้อ่าน เพื่อเปิดใจ “สนธิ ลิ้มทองกุล แบบ “จัดเต็ม” อีกครั้ง !
ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา : ขอเริ่มจากประเด็นที่ถูกพาดพิง คุณสนธิปราศรัยบนเวที บอกว่าคนที่เป็นเสือ เวลาเจ็บไม่ร้อง มีแต่หมาเท่านั้นที่ร้อง อาจารย์เจิมศักดิ์มาให้สัมภาษณ์ในรายการตอบโจทย์ บอกกับคุณสนธิว่า แม้เป็นเสือเวลาเจ็บก็ร้องได้ ประชาชนจะได้เข้าใจ ตกลงเรื่องนี้ใครหมู่ใครจ่า ใครหมาใครเสือ
สนธิ : อันนี้เป็นสิทธิ์ของคุณเจิมศักดิที่แกจะพูด แต่ที่จริงโดยธรรมชาติแล้ว เสือกับหมา เวลาเสือมันเจ็บมันจะวิ่งเข้าป่าไปเลียแผล แล้วก็รอการแก้แค้น แต่หมานี่โดนเตะเข้าตูมเดียวก็ร้องเอ๋ง ในกรณีที่คุณเจิมศักดิ์บอกว่าเสือบางครั้งมันก็ร้อง ผมไม่ทราบว่าคุณเจิมศักดิ์เปรียบเทียบใครเป็นเสือ เปรียบเทียบผมเป็นเสือหรือเปล่า หมายความว่าผมเองก็ร้อง ผมไม่ทราบ เพราะผมไม่ใช่สัตว์
เพราะฉะนั้นเป็นสิทธิ์ของคุณเจิมศักดิ์ที่จะพูดไปได้ คุณเจิมศักดิ์อาจจะเข้าใจอะไรผิดบางสิ่งบางอย่าง ถ้าจำไม่ผิดในช่วงนั้นเป็นช่วงที่รายการคุณเจิมศักดิ์ถูกรัฐบาลชุดทักษิณ (ชินวัตร) ถอดออกหมด คุณเจิมศักดิ์ก็โวยวาย ถ้าเทียบกับรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางช่อง 9 ที่ผมถูกคุณทักษิณถอดออก ผมไม่โวยวาย แต่ผมสู้, สู้ด้วยวิธีของผม
ภิญโญ : แล้วต่างกันตรงไหนครับ การสู้กับการโวยวาย
สนธิ : โวยวายก็คือว่า มันต้องอมเลือดเป็นคนเรา ไม่ใช่ว่าโดนอะไรเล็กโดนอะไรน้อยก็แหกปากร้อง เรียกให้คนมาสนใจ การไม่โวยวายก็หมายความว่าเราต้องหาวิธีที่จะทำตามสิ่งที่เราเชื่อ ถามว่าสิ่งที่ผมทำในสมัยที่ผมทำเมืองไทยรายสัปดาห์ ผมเชื่อในสิ่งที่ผมทำไหม ผมเชื่อ, เมื่อถูกปิดกั้นแล้ว ผมทำได้อย่างเดียวก็คือต้องหาวิถีทางที่จะดำเนินการรายการต่อไป เพราะสิ่งที่ผมเชื่อนั้นคือสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นการให้ปัญญาคน
เพราะฉะนั้น ผมไม่ออกมาโวยวายว่าผมโดนกลั่นแกล้ง มีอยู่ข้อเดียวเท่านั้นที่ผมจำเป็นต้องสู้ในขณะนั้นก็คือ คุณมิ่งขวัญ (แสงสุวรรณ์) และท่านประธาน อสมท ตลอดจนคุณธงทอง (จันทรางศุ) สั่งปิดรายการด้วยเหตุผลหาว่าผมไปพาดพิงถึงในหลวง สถาบันกษัตริย์ ซึ่งผมก็ปฏิเสธ เพราะว่าเรื่องของเรื่องมันมาจากจดหมายเรื่อง “ลูกแกะหลงทาง” ผมก็เลยสู้ประเด็นนั้น แต่ผมไม่เคยว่าคุณทักษิณว่าเขามารังแกผม เพราะผมถือว่าอำนาจเขามี เพราะฉะนั้นแล้วผมก็ไม่ต่อต้านในอำนาจเขา เป็นเพียงแต่ว่าผมจะต้องซิกแซ็กหาวิธีที่จะเอาความรู้ของผมเข้าไปให้ประชาชนให้ได้ จะด้วยการพูดจาในหอประชุมธรรมศาสตร์ หรือการไปจัดรายการที่สวนลุมพินี ผมก็ทำไปอย่างนั้น ผมจะไม่ออกมาโวยวายเด็ดขาด
ภิญโญ : ทีนี้ช่วงที่ผ่านมา พันธมิตรฯ ก็คนเยอะ อุ่นหนาฝาคั่ง มิตรรักแฟนเพลงก็มากันเยอะ คนขึ้นเวทีก็เยอะ ช่วงหลังก็หายกันไปหลายคน อาจารย์เจิมศักดิ์พาดพิงบอกว่า แกนนำพันธมิตรฯ ช่วงหลังก็เลยมักใช้วิธีพูดซ้ำๆ พูดคนเดียว ใส่สีตีไข่ แล้วถ้าใครขัดก็ไม่ได้ ทำให้เกิดมีอีโก้มีอัตตาสูง คิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ไม่ฟังกัลยาณมิตรเลย
สนธิ : อาจารย์เจิมศักดิ์ชอบใช้วาทกรรมที่เวลาโต้เถียงกัน วาทกรรมบอกว่าใส่สีตีไข่ อาจารย์เจิมศักดิ์ไม่เคยพูดยกตัวอย่างว่าใส่สีตีไข่เรื่องอะไร แล้วก็คำว่ากัลยาณมิตรนี่เตือน ผมคิดว่าอาจารย์เจิมศักดิ์เข้าใจบทบาทท่านผิด เรียก “คุณเจิมศักดิ์” ดีกว่านะครับ เพราะว่าวันนี้ไม่ควรจะเป็นอาจารย์
ภิญโญ : ทำไมไม่ควรเรียกอาจารย์ครับ
สนธิ: ก็เพราะว่าคุณเจิมศักดิ์เข้ามาอยู่ในแวดวงของนักวิเคราะห์นักวิจารณ์และอยู่ในวงการสื่อมวลชน คุณเจิมศักดิ์ก็วิพากษ์วิจารณ์ตามองค์ความรู้เท่าที่คุณเจิมศักดิ์มี แล้วคุณเจิมศักดิ์ไม่ได้สอนอะไรให้ประชาชนเลย ถ้าคุณเจิมศักดิ์ยังเป็นนักวิเคราะห์และเป็นสื่อมวลชนจริง นั่นคือบทบาทที่คุณเจิมศักดิ์จะได้รับการเชิดชู แต่วันนี้สิ่งที่คุณเจิมศักดิ์บอกว่า “ใส่สีตีไข่” ทักท้วงก็ไม่ได้ เป็นลักษณะภาพสะท้อนของคนซึ่งเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นโฆษกของพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นโฆษกส่วนตัว เพราะฉะนั้นแล้วคุณเจิมศักดิ์ไม่มีสิทธิ์มาว่าพันธมิตรฯ ใส่สีตีไข่ เพราะว่าคุณเจิมศักดิ์ไม่เคยเอาเรื่องราวต่างๆ ที่ใส่สีตีไข่มาพูด
กรณีของไทย-กัมพูชา คนถามคุณเจิมศักดิ์ว่าคุณเจิมศักดิ์ทำไมไม่แสดงจุดยืนของคุณเจิมศักดิ์บ้าง คุณเจิมศักดิ์บอกว่าศึกษามาไม่พอ ปล่อยให้พวก “เทพ” เขาว่ากัน นี่คือลักษณะการประชดประชัน แล้วอีกอย่างหนึ่งถ้าคุณเจิมศักดิ์จะเป็นนักวิเคราะห์เหตุการณ์ จะเป็นคนซึ่งเอาปัญญาให้คน คุณเจิมศักดิ์จะใช้คำว่า “ศึกษามาไม่พอ” ไม่ได้
ภิญโญ : อาจารย์เจิมศักดิ์ให้สัมภาษณ์ในรายการตอบโจทย์บอกว่า ถ้าพูดภาษาชาวบ้านง่ายๆ คือ ประเด็นไทย-กัมพูชามันหน่อมแน้มไป พันธมิตรฯ เรียกร้องเว่อร์ไป
สนธิ : มันจะไปหน่อมแน้มได้ยังไงล่ะครับ เพราะประเด็นไทย-กัมพูชา มันเป็นประเด็นของหลักเขตแดน เป็นประเด็นที่เรายึดหลักสันปันน้ำ ตามสนธิสัญญาเดิมที่เรามี แต่เขมรไปยึดหลัก 1 ต่อ 200,000 ทีนี้ถ้าเรายอมให้เขมรใช้หลัก 1 ต่อ 200,000 เส้นที่มันลากต่อไปมันจะลากลงทะเล พอมันลากลงทะเลแล้วมันไปยังขุมพลังงาน มีมูลค่าหลายแสนล้าน ผมคิดว่าเมื่อมันนำไปสู่ขุมพลังงานแล้วทำให้ไทยเสียเปรียบ จากไทยเคยมีสิทธิ์อยู่ 3 ส่วน 5 กลายเป็นไทยเหลือแค่ 1 ส่วน 5 มันหน่อมแน้มได้ยังไงคุณเจิมศักดิ์
แล้วถ้าคิดว่ามันหน่อมแน้ม หลายเรื่องทำไมคุณเจิมศักดิ์ไม่เอามาพูดบ้าง อย่างเช่น กรณีของน้ำมันปาล์ม หรือกรณีของการทุจริตคอร์รัปชั่นสนามบินสุวรรณภูมิ คุณเจิมศักดิ์ไม่พูด อะไรคุณเจิมศักดิ์ก็ไม่พูด คุณเจิมศักดิ์จะมีชุดวาทกรรมบอกว่า ผมดูแล้ว คุณอภิสิทธิ์ยังไงก็ยังดีกว่าทักษิณ ประเด็นไม่ใช่อยู่ที่คุณอภิสิทธิ์ดีกว่าทักษิณ หรือไม่ดีกว่าทักษิณ ประเด็นก็คือว่า ถ้าคุณอภิสิทธิ์เป็นคนที่ใช้ไม่ได้ ทำไมคุณเจิมศักดิ์ไม่วิพากษ์วิจารณ์คุณอภิสิทธิ์เหมือนที่คุณเจิมศักดิ์วิพากษ์วิจารณ์คุณทักษิณ
ภิญโญ : อะไรที่ทำให้อาจารย์เจิมศักดิ์นิ่ง และไม่พูดในกรณีของคุณอภิสิทธิ์ครับ
สนธิ : ผมเข้าใจว่าคุณเจิมศักดิ์คือโฆษกของพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่เป็นทางการ ตั้งแต่พรรคประชาธิปัตย์เข้ามามีอำนาจ คุณเจิมศักดิ์ก็ได้เวลาโทรทัศน์เวลาวิทยุเต็มไปหมดเลย
ภิญโญ : แกบอกแกได้อยู่ก่อนแล้วครับ ทำมา 20 ปีแล้ว
สนธิ : แกทำมา 20 ปี แต่แกก็หายไปนี่ ช่อง 11 แกก็ไม่ได้ทำมานาน
ภิญโญ : ทีนี้นอกจากกรณีอาจารย์เจิมศักดิ์, อดีตพันธมิตรฯ หลายคนก็ถูกคุณสนธิ และสมาชิกปัจจุบันพาดพิง ก็เลยมองเป็นว่า ตกลงพันธมิตรฯ แตกกันหรือเปล่า
สนธิ : ใครครับ
ภิญโญ : คุณอัญชะลี ไพรีรัก ก็ไม่ได้ขึ้นเวทีอีก ท่านสมณะจันทร์ก็ไม่ได้ขึ้นเวทีอีก
สนธิ : ต้องแยกเป็นกรณีๆ ไป คือ คุณภิญโญต้องเข้าใจว่าในการต่อสู้ครั้งแรกมันเป็นการที่เขาเรียกว่า สร้างแนวร่วม ก็คือการที่คนทุกคนที่เกลียดคุณทักษิณเข้ามาร่วมกัน ทีนี้ในส่วนของคนที่เกลียดคุณทักษิณก็มีคนที่มาห้อยโหน พวกประชาธิปัตย์เอย พวกคนที่รักพรรคประชาธิปัตย์เอย พวกหม่อมเจ้าหม่อมราชวงศ์ พวกไฮโซไฮซ้อที่อยู่แถวสุขุมวิทก็เข้ามาร่วม พอคุณอภิสิทธิ์ได้เป็นนายกฯ ดั่งใจแล้ว พวกนี้ก็เชียร์คุณอภิสิทธิ์ ผมเองก็ชอบคุณอภิสิทธิ์ตั้งแต่ต้น แต่มารับคุณอภิสิทธิ์ไม่ได้
ภิญโญ : ตอนไหนครับ
สนธิ : หลังจากที่คุณอภิสิทธิ์ทำงานไปแล้วก็จับได้ว่าแกโกหก, แกโกหกหลายเรื่อง
ภิญโญ : เรื่องอะไรที่เป็นเรื่องหลักๆ ที่ทำให้คุณสนธิคิดว่าเป็นจุดเปลี่ยน
สนธิ : ผมคิดว่าเรื่องเขมรนี่แกโกหกจนจับได้ทุกเรื่อง ทุกคำพูดแกโกหกหมด แล้วก็อีกหลายเรื่อง แกให้ปฏิญญา 9 ข้อ ตอนที่แกขึ้นมาว่าแกจะทำให้ประเทศไทย 9 ข้อ แกไม่ได้ทำเลย แกจะแก้การเมืองที่ล้มเหลว แกก็ไม่ได้แก้การเมืองที่ล้มเหลว แกจะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น แกก็ไม่ได้แก้ปัญหาคอร์รัปชั่น แกจะแก้โน่นแก้นี่ คือแกไม่ได้ทำทั้ง 9 ข้อ แกโกหกหมดเลย ด้วยเหตุนี้เราก็เริ่มมาวิพากษ์วิจารณ์คุณอภิสิทธิ์
ทีนี้คนที่เป็นพันธมิตรฯ ส่วนหนึ่งก็อยู่กับเรา อยู่ในเอเอสทีวี อย่างคุณอัญชะลี ไพรีรักก็อยู่, จู่ๆ คุณอัญชะลีไม่มาขึ้นเวที ประชาชนเขาก็ถามสิ ว่าเกิดอะไรขึ้น คุณอัญชะลีถึงไม่มาขึ้นเวที คุณอัญชะลีต้องตอบประชาชน ไม่ใช่ผมตอบ สรุปง่ายๆ ว่าประชาชนต้องการคำตอบคุณอัญชะลี แต่คุณอัญชะลีให้คำตอบไม่ได้ เหตุผลที่คุณอัญชะลีให้คำตอบไม่ได้ เพราะ หนึ่ง-คุณอัญชะลีสนิทสนมกับคุณจุติ ไกรฤกษ์ เพราะคุณอัญชะลีชอบพูดว่าเป็นญาติอยู่บ้านคุณจุติ ไกรฤกษ์มาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว พอคุณจุติมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงไอซีที คุณอัญชะลีก็ไปนั่งอยู่หน้าห้อง
แล้วคุณอัญชะลีก็สนิทกับคุณวัฒนา อัศวเหม เรียกคุณวัฒนาว่า “ลุงวัฒน์” ตลอดเวลา พ่อคุณอัญชะลีก็สนิทกับคุณวัฒนา อัศวเหม คือเรื่องของคุณอัญชะลีผมพอเข้าใจส่วนตัวว่าคุณอัญชะลีสนิทกับคุณจุติ ไกรฤกษ์ แล้วจะให้มาขึ้นเวที มาวิพากษ์วิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์ หรือนายกฯ อภิสิทธิ์ ก็ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะว่าคุณจุติคงไม่พอใจ ในขณะเดียวกันถ้าคุณอัญชะลีมาขึ้นเวที แล้วมาร่วมกับพวกเรา แล้วอาจารย์ปานเทพ อาจารย์เทพมนตรี ก็วิพากษ์วิจารณ์นายฮุนเซน ก็จะมีผลกระทบต่อลุงวัฒน์ของคุณอัญชะลี
ภิญโญ : เพราะอะไรครับ
สนธิ : ก็เพราะคุณวัฒนาหนีคดีไปอยู่เขมร ได้พาสปอร์ตเขมร ฮุนเซนก็ดูแลอยู่ แล้วคุณอัญชะลีก็สนิทสนมกับคุณวัฒนามาก ด้วยเหตุนี้ผมก็เลยเข้าใจ แต่ประชาชนเขาไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นแล้ว คุณอัญชะลีต้องตอบประชาชน เมื่อตอบประชาชนไม่ได้ ก็เลยเข้าไปใช้เฟซบุ๊กของตัวเองไปกระทบกระทั่งคนโน้นคนนี้บนเวที ไม่ว่าจะเป็นคุณประพันธ์เอย คุณชัชวาลย์เอย เมื่อเขาถูกระทบกระทั่ง เขาก็เลยตอบโต้เอา มันก็เลยเป็นภาพนี้
ส่วนท่านสมณะจันทร์นี่ ผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องท่าน แต่รู้ว่าท่านชอบมาขึ้นเวทีแล้วมาบอกว่า มาชุมนุมกันทำไม มากีดขวางการจราจรทำไม ซึ่งมันเป็นตรงกันข้ามกับทิศทาง คุณจำลอง ศรีเมือง ซึ่งท่านอยู่สันติอโศก ท่านเป็นคนบอกเองว่า ผมเสนอว่าอย่าเอาท่านจันทร์ขึ้นเวที เพราะท่านสมณะจันทร์กำลังพูดในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่พวกเรากำลังจะทำ เพราะฉะนั้นการชุมนุมทุกแห่ง การขึ้นเวทีทุกแห่ง ถ้าใครคนใดคนหนึ่งขึ้นไป ไม่ว่าเสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อชมพู เสื้อฟ้า เสื้อขาว ถ้าใครขึ้นไปพูดในสิ่งซึ่งสีเสื้อนั้นหรือว่ากลุ่มผู้ชุมนุมตั้งเป้าอยู่ ก็ไม่มีใครปล่อยให้ขึ้น ปล่อยให้ขึ้นไม่ได้ มันผิดทิศทางหมด
ภิญโญ : ท่านจันทร์บอกว่าต่อไปคุณสนธิจะแตกกับพล.ต.จำลอง ศรีเมือง
สนธิ : อันนั้นก็ให้ท่านจันทร์รอดูต่อไป ผมก็ไม่รู้จะพูดยังไง ผมคิดว่าถ้าผมจะแตกกับพล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก็แตกด้วยเหตุผลข้อเดียว
ภิญโญ : คืออะไรครับ
สนธิ : พล.ต.จำลองเปลี่ยนไป หรือผมเปลี่ยนไป ถ้าผมเปลี่ยนไป ผมไม่ยึดถือหลักการ ผมไม่ยึดถือความถูกต้อง พล.ต.จำลองก็ไม่คบผม เช่นกัน ฉันใดก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้นแล้วความผูกพันของพวกเรา มันผูกพันกันอยู่ตรงที่จิตอุดมการณ์มันเหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล้วการแตกหรือไม่แตก ก็ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์ของแต่ละคน
ภิญโญ : อะไรที่ยึดกุมคุณสนธิกับพล.ต.จำลองไว้ อะไรคือความเห็นร่วมกัน
สนธิ : ผมคิดว่าถ้าเราจะใช้หลักทางพุทธศาสนา ก็คือ ใช้ธรรมอันเดียวกัน คือ ความจริง การออกมาครั้งนี้คนที่เริ่มต้นคนแรกคือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พล.ต.จำลอง เป็นคนพูดกับผมเองว่า สนธิ ผมยอมไม่ได้ให้ประเทศไทยเสียดินแดน ผมจะออกไปประท้วงนะ แต่สนธิไม่ออกไปก็ได้นะ
ภิญโญ : แล้วทำไมคุณสนธิถึงออกไปครับ
สนธิ : ก็เพราะมันเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่จะต้องทำ มันเป็นธรรมอันเดียวกัน คือพี่ลองทำอะไร จะไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาเป็นเรื่องส่วนรวม สิ่งที่พี่ลองทำเป็นเรื่องส่วนรวมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นแล้วผมมีความเชื่อใจในตัวพล.ต.จำลอง 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วผมก็มีปัญญาของผมวิเคราะห์เองได้ แล้วผมก็วิเคราะห์เหตุการณ์ไทย-กัมพูชา วิเคราะห์การตัดสินใจของนายกฯ อภิสิทธิ์ วิเคราะห์ทุกเรื่อง ผมก็เห็นว่าพี่ลองพูดถูกต้องทุกเรื่องเลย
แล้วที่นายกฯ อภิสิทธิ์ไปที่สนามกีฬาไทยญี่ปุ่นดินแดง ไปรับปากรับประกันว่าจะไม่มีวันเสียดินแดน นายกฯ อภิสิทธิ์เคยพูดว่า 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของไทย แล้วตอนหลังก็โกหกบอกว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อนไปแล้ว คือเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แล้วนายกฯ อภิสิทธิ์ไม่เคยใช้เหตุผลที่ถูกต้องหรือตรรกะที่ถูกต้องได้ว่า ทำไมนายกฯ อภิสิทธิ์ถึงไม่ยกเลิก MOU2543 ซึ่งแกพูดไม่ได้เลย แกพูดแค่ว่า มีประโยชน์ มีประโยชน์ตรงไหน จนวันนี้ฆ่ากันจะตายแถวสุรินทร์ ยิงกันอีกแล้ว นายกฯ อภิสิทธิ์ก็ไม่พูดถึง MOU2543อีกเลย
ภิญโญ : ทำไมไม่กล้ายกเลิกครับ
สนธิ : ผมก็ไม่ทราบ คุณต้องไปถามนายกฯ อภิสิทธิ์ ผมเองก็งงว่าทำไมคุณถึงไม่กล้ายกเลิก
ภิญโญ : ตั้งแต่ประท้วงกันหน้าทำเนียบรัฐบาล คุณสนธิเคยยกหูหาคุณอภิสิทธิ์ หรือคุณอภิสิทธิ์ให้คนโทร.มาหาคุณสนธิไหมครับ
สนธิ : ไม่เคยครับ แต่เราเคยพบกัน 3-4 ครั้ง ตอนที่คุณอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ ใหม่ๆ พบกันที่บ้านคุณกอรปศักดิ์ (สภาวสุ) ผมเข้าใจว่าตอนนั้นเขาไปขอความเห็นผม ผมก็ให้ความเห็นเขา เวลาคุยด้วยส่วนตัวเขาคุยดี เหมือนจะเข้าใจทุกเรื่อง ตกลง แต่พอลับหลังไปแล้วไม่ทำสักเรื่องหนึ่ง ไม่ทำเลยแม้แต่เรื่องเดียว
ภิญโญ : คุณสนธิวิเคราะห์ได้ไหมครับว่าเป็นเพราะอะไร
สนธิ : ผมเข้าใจว่าคุณอภิสิทธิ์เป็นคนลักษณะแบบนี้ คือพูดจาให้ดี แตะทุกคนเอาไว้ เหมือนที่คุณอภิสิทธิ์คุยกับคุณอานันท์ ปันยารชุน กับคุณหมอประเวศ วะสี เรื่องปฏิรูปบ้านเมือง เสร็จแล้วคุณอภิสิทธิ์ต้องการที่จะชะลอความกดดันก็เลยใช้คุณอานันท์กับคุณประเวศ พอใช้เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จัดงบประมาณให้ก้อนหนึ่งไป แล้วคุณอภิสิทธิ์ก็ทิ้งแล้ว วันนี้คุณอภิสิทธิ์ไม่พูดถึงงานปฏิรูปการเมืองของคุณอานันท์ ปันยารชุน งานปฏิรูปการเมืองของหมอประเวศ วะสี นี่คือนิสัยของคุณอภิสิทธิ์
ภิญโญ : ตกลงคุณสนธิกำลังจะบอกว่าคุณอภิสิทธิ์ต้มคนแก่หรือครับ ต้มคุณอานันท์ หมอประเวศ และคุณสนธิเอง
สนธิ : ผมว่าคุณอภิสิทธิ์กำลังต้มคนไทยทั้งประเทศ โดยมีคุณเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ณ วันนี้เป็นหัวหอกอย่างไม่เป็นทางการ ออกมาปกป้องคุณอภิสิทธิ์ เพราะฉะนั้นแล้วใครก็ตามที่โจมตีคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในเรื่องการทำงาน ก็จะโดนกระบวนการของคุณอภิสิทธิ์
ภิญโญ: แล้วตกลงพรรคการเมืองใหม่ ใครต้มใครครับ
สนธิ : คุณภิญโญต้องทราบที่มาที่ไปของพรรคการเมืองใหม่ก่อน ถึงจะเข้าใจ หลังการชุมนุม 193 วันแล้ว เรามีการคุยกันว่าเราจะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองยังไงต่อ ผมวันนั้นผมก็อยากจะกลับมาทำเอเอสทีวี ทำหนังสือพิมพ์ ทำเว็บไซต์ผมเหมือนเดิม คนที่อยากจะตั้งพรรคก็คือคุณสุริยะใส กตะศิลา และคุณสมศักดิ์ โกศัยสุข ผมก็ค้าน ค้านมาตลอด แล้วในที่สุดก็เลยมีมติว่า ถ้าอย่างนั้นเรียกประชุมพันธมิตรฯ
ภิญโญ : ทำไมคุณสนธิถึงค้านไม่อยากตั้งพรรคการเมือง
สนธิ : ผมมีความรู้สึกว่า ผมอยากจะอยู่กับสื่อ มีความรู้สึกว่าผมอยากจะอยู่กับมันและพัฒนามันต่อไป เพราะผมไม่มีเวลาทำงานกับมันเลยแม้แต่นิดเดียว อยากจะเข้าไปสัมผัสเด็กรุ่นหลัง แล้วก็ฝึกอบรมเขา ให้องค์ความรู้เขา เพราะเวลาผมไม่มีในช่วงหลัง ผมก็เลยอยากจะอยู่กับสื่อ แต่เผอิญก็อย่างว่าล่ะ เรา 5 คน เวลามีมติกันแล้วมันก็ผูกมัดกัน ก็ต้องไป ก็เลยมีความคิดว่า ถ้าอย่างนั้นลองประชุมใหญ่พันธมิตรฯ แล้วก็ถามความเห็นกัน ในที่สุดแล้ว เขาก็มีมติ 70-80 % ที่จะตั้งพรรคกัน คนที่อยู่กับผมหลายคนก็ไม่เห็นด้วย คุณสุรวิชช์ วีรวรรณก็ไม่เห็นด้วย บอกไม่ควรจะตั้ง
พอตั้งขึ้นมาปั๊บ มันก็มีคำถามว่า พรรคการเมืองใหม่จะเลือกใครเป็นหัวหน้าพรรค ก็ต้องยอมรับว่า พันธมิตรฯ เป็นกลุ่มมวลชนที่ไม่ใช่หัวแข็ง แต่เป็นคนมีปัญญา ใครไปสั่งหันซ้ายหันขวาไม่ได้ ทีนี้ทางเหนือ ทางตะวันออก ทางอีสาน ทางใต้ เขาก็มีแกนนำของเขา เขาก็เสนอกันมาเต็มไปหมดเลย คุณสมศักดิ์ก็จะถูกเสนอ คนโน้นก็จะถูกเสนอ คนนี้ก็จะถูกเสนอ มันกลายเป็นเบี้ยหัวแตก มันคงจะยกมือและสู้กันแหลกในที่ประชุม ในที่สุดแล้วคนก็เลยมาบอกว่าเอาผมเป็นหัวหน้าพรรค ทุกคนก็เลยยอมหมด คุณประพันธ์เป็นคนเริ่มตัวนี้ คุณประพันธ์ไปปราศรัยที่หาดใหญ่ก่อนที่จะมีการตั้งพรรคการเมืองใหม่เสียด้วยซ้ำ ว่าเสนอให้ผมเป็นหัวหน้าพรรค ลึกๆ ผมยังฉุนคุณประพันธ์เลย ฉุนเพราะว่า ไปดึงชื่อผมขึ้นมา ผมอยู่ของผมเฉยๆ
ภิญโญ : คุณสนธิไม่เคยอยากเป็นเลยหรือครับ หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่
สนธิ : ไม่เคยอยากเป็นเลยครับ ไม่เคยอยากเป็นเลย แต่เหตุผลที่จำเป็นต้องเป็นในช่วงนั้นมี 2 เหตุผล ผมก็บอกว่าถ้าผมเป็นหัวหน้าพรรคผมจะเป็นชั่วคราว ให้พรรคมันก่อตั้งแล้วผมไม่ลงเลือกตั้งนะ แล้วผมจะลาออก
ภิญโญ : แต่ก่อนหน้านั้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้า คุณสนธิปราศรัยว่าจะไม่รับตำแหน่งทางการเมือง
สนธิ : มันขึ้นอยู่กับนัยที่คุณภิญโญต้องตีความว่า ตำแหน่งทางการเมืองคืออะไร สำหรับผมแล้วตำแหน่งทางการเมืองคือตำแหน่งที่เป็นการเมืองจริงๆ คือ เป็นรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษา เป็นเลขาธิการนายกฯ หรืออะไรทำนองนี้ แต่การที่เป็นหัวหน้าพรรคชั่วคราวเพื่อก่อตั้งขึ้นมาแล้วให้พรรคมันอยู่ได้แล้วลาออก ผมไม่ได้ถือว่านี่เป็นตำแหน่งทางการเมือง เหมือนกับเป็นตำแหน่งทางบริหารเพื่อจัดรูปแบบของพรรคให้มันเกิดขึ้น ให้มีสำนักงาน ให้มีหน่วยงานฝึกอบรม หน่วยงานวิชาการ ให้วางนโยบายเสร็จเรียบร้อยแล้วผมก็ลาออก ซึ่งผมก็ลาออกจริง ผมอยู่สั้นๆ ผมอยู่ประมาณไม่ถึงปีด้วยซ้ำ ผมก็ลาออก
ภิญโญ : ทีนี้พรรคก็ตั้งแล้ว การเลือกตั้งก็กำลังจะมาถึง ทำไมไม่ปล่อยให้เลือกตั้งแล้ววัดความนิยมของพรรคการเมืองใหม่ไปเลยล่ะครับ
สนธิ : นี่ล่ะคือปัญหาใหญ่ เพราะว่าเรามาสรุปในการประชุมพันธมิตรฯ มีผม มีคุณสมศักดิ์ มีคุณสมเกียรติ (พงษ์ไพบูลย์) มีคุณพิภพ (ธงไชย) และมี พล.ต.จำลอง เรามาประชุมแล้วมีความเห็นว่า ถ้าการเมืองระบบมันเป็นอย่างนี้อยู่ มันจะเป็นลักษณะ “อัปรีย์ไปจัญไรมา” มันไม่มีอะไรดีขึ้น เพราะฉะนั้นแล้ว เราเป็นคนบอกคุณสมศักดิ์ในฐานะซึ่งคุณสมศักดิ์เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ แล้วคุณสมศักดิ์เป็นตัวแทนของพันธมิตรฯ ที่ส่งไปเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ เพราะว่าตอนที่เลือกหัวหน้าพรรคคนต่อมาจากผม มีหลายคนจะสมัครแข่ง เรามีมติว่า ส่งคุณสมศักดิ์ไปเป็นหัวหน้าพรรคก็แล้วกัน แล้วผมนี่เป็นคนไปพูดกับคนที่จะลงสมัคร บอกให้ถอนตัวดีกว่า ไม่อยากให้ทะเลาะกันในพรรค คุณสมศักดิ์ก็คือเป็นตัวแทนของแกนนำพันธมิตรฯ ไปเป็นหัวหน้าพรรค เพราะฉะนั้นคุณสมศักดิ์จะต้องนำฉันทามติของแกนนำไปชี้แจงให้กับสมาชิกพรรคการเมืองใหม่ และไปชี้แจงกับกรรมการบริหารพรรค
ภิญโญ : เป็นฉันทามติหรือเถ้าแก่สั่งครับ
สนธิ : ไม่มี, จะเป็นเถ้าแก่ได้ยังไง แสดงว่าคุณไม่ได้ฟังรายการที่ออกมาเมื่อคืนวันจันทร์…
ภิญโญ : เขาย้อนคุณสนธิกลับมาครับ ผมก็ฟังรายการคุณสนธิอยู่
สนธิ : ไม่ครับๆ เพราะว่าคนซึ่งมีมติให้ “โหวตโน” ไม่ใช่ผม ผมไม่รู้เรื่องเลย ผมมีมติอยู่อย่างเดียวว่า พรรคการเมืองใหม่ไม่ควรที่จะส่ง ไม่ควรที่จะส่งนักการเมืองลง แต่โหวตโนนี่เป็นการประชุมอีกครั้งหนึ่ง การประชุมอีกครั้งหนึ่งที่ประกอบด้วยพันธมิตรฯ รุ่น 1 รุ่น 2 และประกอบด้วยคณะกรรมการปกป้องแผ่นดิน 17 คน ซึ่งผมไม่ได้อยู่ ผมไปรักษาตัว แล้วก็มีการเสนอว่าถ้าอย่างนั้นใช้โหวตโนก็แล้วกัน ซึ่งเป็นการแสดงความรู้สึกว่าเราไม่เห็นด้วยกับระบบการเมืองปัจจุบัน
ภิญโญ : โหวตโนนี่ใครเป็นคนคิดขึ้นมาครับ
สนธิ : อย่าไปรู้เลย ผมขี้เกียจให้คนนั้นเป็นเป้า เอาเป็นว่า เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผมกลับมา คุณจำลองบอก สนธิ พวกเราเอาอย่างนี้นะ ผมก็บอกว่า เอาก็เอาสิพี่, เอาก็เอา เพราะฉะนั้นแล้วคนซึ่งมาว่าผมเป็นเถ้าแก่นี่เข้าใจผมผิดหมดเลย ผมไม่ได้รู้เรื่องเลย แต่ไม่เป็นไร ผมไม่ถือสาหรอก เพราะว่า… โทษนะครับคุณภิญโญ โทษนะครับท่านผู้ชม… ทุกวันนี้อะไรๆ ก็กูอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อเป็นแกนนำ หรือเป็นผู้นำมวลชน ต้องยอมรับอาวุธต่างๆ ที่เขาใส่ให้
ด้วยเหตุนี้มันก็เลยเกิดกระบวนการต่อไป แล้วพรรคการเมืองใหม่จะเอาอย่างไร คุณสมศักดิ์เขาก็เห็นด้วยนะกับการไม่ส่งลง แกก็ยังบอกว่า แต่ผมต้องเอาไปหารือกับสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรคก่อน จนกระทั่งพัฒนาต่อมาถึงการลงคะแนนเสียงเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมานี้ เมื่อการลงคะแนนเสียงแล้ว คนประมาณพันกว่าคน เกือบสองพันคน 90%บอกว่าให้โหวตโน คุณสมศักดิ์ในฐานะหัวหน้าพรรค สามารถที่จะใช้มติในการลงคะแนนเสียงครั้งนั้นเป็นมติไปเลย แต่คุณสมศักดิ์ไม่ใช้ คุณสมศักดิ์กลับไปใช้ว่า ถือว่าเป็นการรับฟังความคิดเห็น เมื่อรับฟังความคิดเห็นแล้ว คุณสมศักดิ์ก็จะเอาความคิดเห็นนี้ไปหารือกับกรรมการบริหาร เพราะตามกฎหมายแล้วกรรมการบริหารมีสิทธิตัดสินใจ ผมก็ไม่ได้ว่าอะไร ไม่ได้ยุ่งเลย สุดแล้วแต่พรรคการเมืองใหม่ ถ้าพรรคการเมืองใหม่เดินสวนทางกับพันธมิตรฯ ก็ไม่เป็นไร เป็นสิทธิที่พรรคการเมืองใหม่ทำได้ แต่พันธมิตรฯ ก็จะเดินหน้าโหวตโนอย่างเดียว ซึ่งเมื่อโหวตโนแล้ว เราก็จะโหวตโนทุกพรรค รวมไปจนถึงพรรคการเมืองใหม่ด้วย
ภิญโญ : คุณสนธิก็เลยปราศรัยบนเวที บอกว่า กระสันกันนักอยากจะเป็น ส.ส. หลงลาภ หลงยศ
สนธิ : คือโดยเบื้องหลังแล้วมันมีคนที่อยากจะลงปาร์ตี้ลิสต์ คนคิดง่ายๆ ว่า เฉพาะกรุงเทพฯ อย่างเดียว คราวที่แล้วเลือกตั้ง ส.ก.-ส.ข.ถึงแม้พรรคการเมืองใหม่จะไม่ได้ แต่ก็มีเสียงบริสุทธิ์แสนกว่าเสียง เขาก็มองว่าเสียงบริสุทธิ์ของพรรคการเมืองใหม่ทั่วประเทศน่าจะมีสักล้านสองล้านเสียง เพราะฉะนั้นแล้วปาร์ตี้ลิสต์ 1 2 3 4 5 น่าจะได้กัน ก็เลยขยันกันหาเสียง ขยันกันมาโจมตีพันธมิตร โจมตีแกนนำพันธมิตรฯ โจมตีผม คือตัวเองอยากลง ตัวเองเป็นใครผมไม่รู้ แต่มีประธานสาขาพรรคซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่น อยากจะลง ส.ส. ก็เลยพลิกประเด็น คือ เรามองภาพใหญ่มากกว่า มองการปฏิรูปทางการเมืองมากกว่าการส่งคนลงปาร์ตี้ลิสต์ 4-5 คน แล้วได้ 4-5 คน แล้วเข้าไปนั่งปั้นจิ้มปั้นเจ๋ออยู่ในสภา แล้วก็ไปอยู่ในวังวนของน้ำเน่าเหมือนเดิม เรากลับมองว่า อย่าเพิ่งลงตอนนี้ได้ไหม ลงงวดหน้า แต่ออกมาทำงานร่วมกัน ทำโหวตโนร่วมกันเพื่อให้ประชาชนเห็นว่าระบบการเมืองปัจจุบันมันไปไม่รอดแล้ว แล้วรอจังหวะที่ดี แล้วค่อยลงงวดหน้า เขาไม่รอกัน ก็เรื่องของเขา
ภิญโญ : ทีนี้คนเขาถามว่า โหวตโนแล้ว so what โหวตโนแล้วไปยังไงต่อครับ
สนธิ : คือโหวตโนมันไม่เหมือนปฏิรูปการเมืองที่คุณอานันท์เขาทำหรือที่หมอประเวศทำ โหวตโนคือการออกไปแสดงสิทธิ คุณไม่จำเป็นต้องเป็นพันธมิตรฯ คุณไม่จำเป็นต้องชอบผม แต่ถ้าคุณโหวตโนแสดงว่าคุณไม่ชอบพรรคทุกพรรค เราก็ไม่ชอบพรรคทุกพรรค เราถึงโหวตโน แต่ว่านัยเบื้องหลังของการไม่ชอบพรรคทุกพรรคนั้นคือว่าเราไม่ชอบระบบการเมืองปัจจุบัน เพราะระบบการเมืองปัจจุบันมันเป็นระบบบริษัทพรรคการเมืองจำกัด เป็นบริษัทพรรคประชาธิปัตย์, บริษัทพรรคเพื่อไทย
เพราะฉะนั้นพรรคการเมืองปัจจุบัน มันไม่ได้เลือก ส.ส. เข้าไปเพื่อทำหน้าที่นิติบัญญัติ มันเลือก ส.ส. เข้าไปเพื่อเลือกคนเป็นนายกฯ แล้วก็เพื่อยกมือให้กับนโยบายของมัน ด้วยเหตุนี้ เขาไม่จำเป็นต้องเป็นพันธมิตรฯ เขาไม่จำเป็นต้องชอบผม แต่ถ้าเขาโหวตโนแสดงว่าเขาคิดเหมือนเรา เมื่อคิดเหมือนเรา คนที่คิดเหมือนเรา สามารถที่จะรวมเป็นพลัง ถ้าสมมติมีคนโหวตโนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน มันจะมีผลทางการเมืองมาก มันจะมีผลตรงที่ว่า มันจะก่อให้เกิดจริยธรรมทางการเมือง ว่าคนอย่างน้อย 5 ล้านคน แล้ว 5 ล้านคนนี้ มีอิทธิพลมากพอ และมีจำนวนมากกว่าคนที่ลงปาร์ตี้ลิสต์ทุกๆ พรรค สมมติว่าแยกพรรคประชาธิปัตย์ออก แยกพรรคเพื่อไทยออก เผลอๆ 5 ล้านคนยังจะมากกว่าปาร์ตี้ลิสต์ของประชาธิปัตย์ มากกว่าปาร์ตี้ลิสต์ของเพื่อไทย
ภิญโญ : ถ้าอย่างนั้น ทำไมไม่ให้ 5 ล้านคนนั้นโหวตให้พรรคการเมืองใหม่เสียเลย
สนธิ : ไม่ได้ๆ เพราะว่าพรรคการเมืองใหม่เป็นพรรคที่บางคนเขาไม่ชอบ เป็นสิทธิของเขา แต่ว่าถ้าระบบแล้วนี่เขาเห็นด้วย เห็นด้วยกันหมดเลย
ภิญโญ : คุณสนธิเอาความมั่นใจมาจากไหนครับ ทั้งๆ ที่คุณอานันท์ ปันยารชุน ก็พูดเรื่องปฏิรูปการ
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1129 ครั้ง