รูปภาพ : ประชาชนผู้ยากไร้และขาดแคลนที่อยู่อาศัยและอาหารในประเทศเบอร์กิน่าฟาร์โซ่ในทวีปแอฟริกา
ที่มา : FAO Official Web Site
อาหารเหลือทิ้งหรือที่สูญเสียระหว่างกระบวนการผลิตทีจำนวนรวมกันกว่า 1,300 ล้านตันต่อปี หรือกว่า 1 ใน 3 ของการผลิตอาหารทั่วโลกเพื่อการบริโภคของมนุษย์ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO (Food and Agriculture Organization) กล่าว
เกษตรกรในประเทศยากจนขาดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการจัดเก็บและแช่เย็นที่เหมาะสม ดังนั้นอาหารจึงเกิดการเน่าเสียก่อนถึงมือผู้บริโภค เอฟเอโอระบุ ประเทศร่ำรวยมีกากอาหารเหลือทิ้งราว 222 ล้านตันซึ่งมีปริมาณเกือบเท่ากับผลผลิตอาหารทั้งหมดของภูมิภาคแอฟริกาที่อยู่ใต้ทะเลทรายซาฮาร่า (Sub-Saharan Africa) รายงานชิ้นล่าสุดของเอฟเอโอระบุ การสูญเสียอาหารหรือ Food Losses เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตหรือแปรรูป ขณะที่กากเหลือทิ้งหรือ Waste คือ อาหารที่ใช้ประโยชน์ได้แต่ไม่ได้ถูกบริโภค
“การสูญเสียอาหารที่หลีกเลี่ยงได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์มีผลกระทบโดยตรงและเป็นลบต่อรายได้ของทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค” เอฟเอโอระบุ “การปรับปรุงประสิทธิภาพของโซ่อุปทานอาหารสามารถช่วยลดต้นทุนอาหารที่จะมาสู่มือผู้บริโภคได้และดังนั้นแล้วจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงอาหารด้วย”
ผู้ค้าปลีกให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกมากเกินไป เอฟเอโอระบุ รายงานการศึกษาระบุว่า ผู้บริโภคยินดีที่จะซื้ออาหารซึ่งไม่เป็นไปตามกับมาตรฐานของรูปลักษณ์ภายนอกตราบเท่าที่อาหารนั้นมีความปลอดภัยและมีรสชาติดี เอฟเอโอกล่าว
“ดังนั้นแล้วลูกค้ามีอำนาจที่จะส่งอิทธิพลต่อมาตรฐานด้านคุณภาพและควรจะทำเช่นนั้น” เอฟเอโอกล่าว “การขายผลผลิตจากไร่ให้ใกล้มือผู้บริโภคมากขึ้น โดยไม่ต้องอิงกับมาตรฐานคุณภาพของซุปเปอร์มาร์เก็ต ถือเป็นอีกหนึ่งคำแนะนำ สิ่งนี้สามารถประสบผลสำเร็จได้ผ่านตลาดของเกษตรกรและัร้านค้าของไร่เอง”
ที่มา Bloomberg
แปลและเรียบเรียงโดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่า่ยข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday
อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็มของเอฟเอโอได้ที่
ท่านสามารถ Download รายงานการศึกษาฉบับเต็มได้ที่