ลิเบียคือ
โคโซโว 2!
โดย
อู๋ หลี่หมิง นักวิเคราะห์จากสำนักข่าวซินหัว
แปลโดย
เบ๊นซ์ สุดตา
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของพันธมิตรชาติตะวันตกในการเปิดฉากถล่มลิเบียได้แสดงให้เห็นถึงความละม้ายคล้ายคลึงกับ
“ยุทธศาสตร์” ที่พวกเขาเคยใช้กับสมรภูมิในโคโซโวในช่วงทศวรรษที่ 1990
นางแคเธอรีน แอชตัน
หัวหน้าด้านนโยบายการต่างประเทศแห่งสหภาพยุโรปได้เปิดที่ทำการของสหภาพยุโรปในเบนกาซีซึ่งเป็นฐานที่มั่นสำคัญของกลุ่มกบฏลิเบียในวันอาทิตย์ที่
22 พฤษภาคม 2011 เมื่อเธอได้เยือนเมืองนี้ในวันเดียวกันนั้น
ขณะที่วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา
อัยการจากศาลอาญาระหว่างประเทศหรือ ICC (International
Criminal Court) ได้ร้องขอหมายจับต่อ พ.อ. มูอัมมาร์ กัดดาฟี่
ผู้นำลิเบีย, นายซาอีฟ อัลอิสลาม ลูกชายของเขา และนายอับดุลเลาะห์ อัลซานูซี
พี่เขยของกัดดาฟี่ซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักข่าวกรองของลิเบีย
เมื่อย้อนกลับไปดูในอดีตจะพบว่า
นาโต้เคยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ขั้นตอนในสงครามโคโซโวในช่วงปี 1999
ในขั้นแรก
นาโต้ได้สนับสนุนรัฐบาลโคโซโวและได้เริ่มการเปิดฉากการทิ้งระเบิดใส่อดีตประเทศยูโกสลาเวียเป็นเวลา
78 วัน เพื่อบีบให้อดีตผู้นำยูโกสลาเวียสโลโบดาน มิโลเซวิชถอนกำลังของเขาออกไป
ต่อจากนั้นชาติตะวันตกก็ได้สุมไฟความขัดแย้งทางการเมืองในเซอร์เบีย
นำไปสู่การล่มสลายของอำนาจมิโลเซิวิช
ขั้นสุดท้ายคือ
การส่งตัวนายมิโลเซวิชสู่นครเฮกเพื่อเผชิญกับข้อกล่าวหาที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ
หลังจากนั้นต่อมา นายมิโลเซวิชถูกจำคุกจนเสียชีวิต
12 ปีต่อมา
เป็นอีกครั้งที่พันธมิตรชาติตะวันตกได้ใช้วิธีเดียวกันด้วยยุทธศาสตร์ 3
ขั้นในลิเบีย
ตอนนี้นี้นาโต้กำลังดำเนินการโจมตีทางอากาศอย่างต่อเนื่องต่อกองกำลังของกัดดาฟี่
ขณะที่ชาติพันธมิตรตะวันตกเพิ่มแรงกดดันทางการเมืองและจิตวิทยาอย่างหนักต่อกัดดาฟี่และทำการสนับสนุนกลุ่มต่อต้านอย่างเปิดเผย
เพื่อพยายามบีบให้กัดดาฟี่สละอำนาจ สิ่งนี้ตามมาด้วยการออกหมายจับกัดดาฟี่ของ ICCเพื่อนำตัวเขาไปยังนครเฮก
อย่างไรก็ตาม
มีบางอย่างที่แตกต่างกันระหว่างกรณีของโคโซโวและลิเบีย
ในปี 1999
ชาติตะวันตกได้ทำการระดมทิ้งระเบิดโดยปราศจากมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
ขณะที่ 12 ปีถัดมา
ชาติตะวันตกได้เริ่มการโจมตีทางอากาศใส่ลิเบียโดยการทำเกินกว่าอำนาจที่มติสหประชาชาติที่
1973 ให้ไว้เพียงแค่การบังคับให้เกิด “เขตห้ามบิน”
เพื่อปกป้องชีวิตพลเรือนในลิเบียเท่านั้น
นอกจากนั้นแล้ว
นาโต้ได้ขยายปฏิบัติการทางทหารจากทวีปยุโรปซึ่งเป็นพื้นที่การป้องกันที่นิยามไว้ในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือไปสู่ทวีปแอฟริกาซึ่งไกลเกินกว่าพื้นที่ป้องกันดั้งเดิมที่มีความชอบธรรมของนาโต้
แต่สิ่งที่ดูขัดแย้งมากกว่านั้นคือ
ชาติตะวันตกอ้างว่าต้องการ “ทางออกทางการเมือง” ขณะที่ยังคงดำเนินการโจมตีทางอากาศในลิเบีย
แต่สิ่งที่หมายถึง “ทางออกทางการเมือง” จริงๆแล้วก็คือ บางสิ่งที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงจากสิ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศเข้าใจกัน
ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคมซึ่งชาติตะวันตกหลายประเทศได้เริ่มการถล่มทางอากาศ
ชาติตะวันตกยังได้ร่วมกันจัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า “กลุ่มติดต่อประสานงาน” ในลิเบียหรือContact
Group ขึ้นมา และได้จัดการประชุมหลายครั้งเพื่อประสานงานการปฏิบัติการต่างๆ
โดยอ้างว่า “เป็นการหาทางออกทางการเมืองเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตลิเบีย”
อย่างไรก็ตามกลุ่มติดต่อประสานงานนี้ได้เรียกร้องให้มีการสนับสนุนกลุ่มกบฏลิเบียอย่างเปิดเผยในหลายๆโอกาส
โดยสรุปแล้ว
สิ่งที่เกิดขึ้นในโคโซโวและลิเบียสามารถมองได้ว่าเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบของสิ่งที่เรียกกันว่า
“ลัทธิแทรกแซงนิยมใหม่” หรือ “Neo-Interventionism” ซึ่งนำโดยมหาอำนาจตะวันตกบางประเทศ
ภายใต้วาทกรรมของ “สิทธิมนุษยชนเหนือกว่าอธิปไตย”
ประเทศเหล่านี้พยายามที่จะแทรกแซงกิจการภายในของรัฐที่เป็นเอกราช
แม้แต่การใช้กำลังทหารเพื่อแบ่งแยกประเทศเหล่านี้ที่ตกเป็นเหยื่อ
ยุทธศาสตร์ของนักแทรกแซงนิยมใหม่มักจะเป็นไปในทางเจ้าเล่ห์
หลอกหลวงเสียมากกว่า
ยกตัวอย่างในส่วนของประเด็นลิเบีย
มหาอำนาจตะวันตกดูเหมือนว่าจะพยายามทำตามขั้นตอนและวิถีปฏิบัติระหว่างประเทศ :โดยเริ่มแรกพวกเขาพยายามผลักดันให้มีการผ่านมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและจากนั้นก็ขอหมายจับกัดดาฟี่ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อนำตัวเขาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
อย่างไรก็ตามยุทธศาสตร์เหล่านี้ก็ถูกนำมาใช้บนพื้นฐานของการเลือกปฏิบัติล้วนๆเพื่อกำจัดผู้นำทางการเมืองที่ชาติตะวันตกไม่ชอบซึ่งรวมถึงกัดดาฟี่และมิโลเซวิช
ชาติตะวันตกจะทำเป็นตาบอดในกรณีเดียวกันนี้ในประเทศที่เป็นพันธมิตรของพวกเขา
เพื่อให้เกิดความกระจ่างขึ้น
กองกำลังบางส่วนในชาติตะวันตกกำลังใช้ขั้นตอนทางกฎหมายระหว่างประเทศเพียงเพื่อตอบสนองเป้าหมายทางการเมืองของพวกเขาเท่านั้น
ในศตวรรษที่ 21 ประเทศตะวันตกบางประเทศได้ใช้นโยบายในแบบฉบับ
“ลัทธิแทรกแซงนิยมใหม่” เป็นมาตรฐานการปฏิบัติและแม้กระทั่งพยายามที่จะใช้โมเดล “โคโซโว”
ในที่ต่างๆทั่วโลก สิ่งนี้สมควรเป็นสัญญาณเตือนไปยังประชาคมระหว่างประเทศ
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1565 ครั้ง