ทุนสำรองของธนาคารกลางในภูมิ
ภาคอ่าวควรมีการกระจายตัวมากกว่านี้ในระยะยาว และการที่สหรัฐฯผิดนัดชำระหนี้
พันธบัตรตัวเองในกรณีใดๆก็
ตามจะส่งผลให้เกิดแรงกดดันหนั
กให้ค่าเงินดอลลาร์ร่วงไปอี
กและก่อให้เกิดเงินเฟ้อ เจ้าหน้าที่ระดับสู
งจากธนาคารกลางแห่งหนึ่งในภูมิ
ภาคอ่าวเปิดเผยกับรอยเตอร์วานนี้ (พฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2011)
ผู้ส่งออกน้ำมันชาติอาหรับในภูมิภาคอ่าวซึ่งส่วนมากตรึงค่าเงินตัวเองไว้กับดอลลาร์เป็นผู้ถือครองรายใหญ่ในพันธบัตรรัฐบาลและสินทรัพย์อื่นๆในสหรัฐฯ โดยน้ำมันซึ่งตั้งราคาในรูปเงินดอลลาร์ถือเป็นแหล่งรายได้หลักของรัฐบาล
“ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk) ถือเป็นความกังวลสำหรับหลายๆประเทศซึ่งมีการลงทุนในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มันจะสูญเสียมูลค่า” นายคาหลิด อัลคาเทอร์ (Khalid Alkhater) กล่าวกับรอยเตอร์
“ประการที่ 2 … นี่จะสร้างแรกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญๆอื่นๆ ดังนั้นแล้วก็จะก่อให้เกิดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น”
เขากล่าวกับรอยเตอร์บนเงื่อนไขที่จะไม่มีการเปิดเผยว่าเขาทำงานกับธนาคารกลางประเทศใด
เงินเฟ้อในภูมิภาคอ่าวซึ่งพึ่งพาการนำเข้าอาหารเกือบทั้งหมด ยังคงอยู่ในระดับต่ำเป็นเลขหลักเดียวในปีนี้ โดยมากที่สุดในประเทศคูเวตที่ระดับ 5.3% ในเดือนเมษายน
แต่บรรดานักวิเคราะห์คาดว่าจะมีแรงกดดันด้านราคามากขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยเกิดจากราคาอาหารที่สูงขึ้น เงินดอลลาร์ที่อ่อนลง และการใช้จ่ายภาครัฐที่สูงขึ้นหลังจากเกิดเหตุวิกฤตการเมืองในโลกอาหรับ
ขณะนี้มีจำนวนสมาชิกรัฐสภาจากพรรครีพบัลิกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆที่คิดว่าการผิดนัดชำระหนี้ในทางเทคนิค (Technical Default) เป็นความพยายามที่คุ้มค่าพอเพื่อให้ทำเนียบขาวยอมรับการตัดลดรายจ่ายในมูลค่ามหาศาล
อย่างไรก็ตามจุดยืนดังกล่าวได้ก่อให้เกิดเสียงตำหนิจากทั่วโลก แม้ว่าตลาดการเงินจะมองว่ามีความเสี่ยงที่สหรัฐฯจะผิดนัดชำระหนี้น้อยมาก
จีน ผู้ถือครองสินทรัพย์ในสหรัฐฯรายใหญ่ที่สุดออกมากล่าวเมื่อวันพุธที่ 8 มิถุนายนว่า สมาชิกรัฐสภา “กำลังเล่นกับไฟ” โดยการเล็งที่จะทำแท้กระทั่งการผิดนัดชำระหนี้เป็นการชั่วคราว (Brief Default) เพื่อเป็นเครื่องมือในการบีบให้มีการตัดลดงบประมาณรายจ่าย
ในโอมาน ซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 รัฐอาหรับในภูมิภาคอ่าว ธนาคารกลางโอมานได้เริ่มถกเถียงถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการผิดนัดชำระหนี้ในพันธบัตรสหรัฐฯและกลัวว่าหากเกิดเหตุการณ์ที่ว่าขึ้น อย่างน้อยแม้ชั่วคราว อาจสร้างความปั่นป่วนหนักต่อทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของภูมิภาคอ่าว เจ้าหน้าที่ระดับสูงธนาคารกลางโอมานออกมากล่าวเมื่อวันพุธเช่นเดียวกัน
ทุนสำรองดอลลาร์
เมื่อถูกถามว่า ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้จะส่งผลกระทบต่อนโยบายทุนสำรองของธนาคารกลางในภูมิภาคอ่าวหรือไม่ นายอัลคาเทอร์ตอบว่า “แม้ว่าจะไม่คำนึงถึงเรื่องนี้ ความเห็นของผมก็ยังคงมองว่า ประเทศในภูมิภาคอ่าวควรกระจายทุนสำรออง”
“พวกเขาควรกระจายกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนมากขึ้นและมากขึ้นในระยะยาว” เขากล่าว
“เพียงแค่มองในมุมของการปรับสมดุลกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนให้เหมาะสมล้วนๆโดยคำนึงถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย ผมคิดว่าในระดับโลกน่าจะมีการเคลื่อนตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในการที่ธนาคารกลางต่างๆจะค่อยๆลดการถือครองเงินดอลลาร์ในทุนสำรอง” นายคูบิเลย์ ออสเติร์ก (Kubilay Ozturk) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกาของธนาคารดอยช์แบงก์ในกรุงลอนดอนให้ความเห็นกับรอยเตอร์
“นัยยะสำหรับ … การถอนตัวออกจากเงินดอลลาร์จากทั่วโลกจะรู้สึกได้ในกลุ่ม GCC มากกว่าเนื่องจาก มันอาจทำให้ประเทศอาหรับในกลุ่ม GCC มีความกังวลมากขึ้นถึงการตรึงค่าเงินไว้กับดอลลาร์ ดังนั้นแล้วการกระจายทุนสำรองและการตรึงค่าเงินไว้กับดอลลาร์จึงไม่น่าจะมีการประเมินแยกจากกันมากนัก” เขากล่าว
คูเวตเป็นประเทศในภูมิภาคอ่าวเพียงหนึ่งเดียวที่ใช้ตรึงค่าเงินตัวเองกับตะกร้าเงินแม้ว่าในตะกร้าจะยังคงให้น้ำหนักกับดอลลาร์มากก็ตาม คูเวตยกเลิกการตรึงค่าเงินตัวเองกับดอลลาร์ในปี 2007 เพื่อจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อ
ธนาคารกลางคูเวตและบาห์เรนปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเรื่องการกระจายทุนสำรองและธนาคารกลางซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ไม่ได้ให้คำตอบกับคำถามดังกล่าว
ตลาดการเงินกำลังติดตามการถกเถียงในสหรัฐฯแต่ยังคงมองว่ามีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้น้อยมาก ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวลดลงจากที่เพิ่ใขึ้นมาก่อนหน้าโดยมีราคาทรงตัวในช่วงการซื้อขายวานนี้
สุลต่าน นัสเซอร์ อัลสุไวดี (Sultan Nasser al-Suweidi) ผู้ว่าการธนาคารกลาง UAE กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ธนาคารกลางชาติอาหรับในภูมิภาคอ่าวยังคงเห็นว่า พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยและจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย
ธนาคารกลางในภูมิภาคอ่าวซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีการส่งออกน้ำมันสูงที่สุดในโลก มักจะไม่เปิดเผยรายละเอียดขององค์ประกอบในทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของตัวเอง และการถกเถียงถึงนโยบายด้านทุนสำรองถือเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนในภูมิภาคนี้ซึ่งเป็นพันธมิตรที่แนบแน่นของสหรัฐฯ
ที่มา ข่าว Real Time จากโปรแกรม Reuters 3000 Xtra
ไอดีข่าว nLDE7581TE
แปลและเรียบเรียงดดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday