นายกรัฐมนตรีเรเซป เทย์ยิป เออร์โแกน (Recep Tayyip Erdogan) แห่งตุรกีสัญญาว่าจะหาฉันทามติในการแก้รัฐธรรมนูญหลังจากชนะการเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลเป็นสมัยที่ 3 และกล่าวว่า ชัยชนะของเขาจะช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในตะวันออกกลาง
พรรคความยุติธรรมและการพัฒนาหรือ AKP ของนายเออร์โดแกนชนะได้คะแนนเสียง 50% หลังจากมีการนับคะแนนไปแล้วกว่า 99% และได้ที่นั่งในสภากว่า 325 ที่นั่งจากทั้งหมด 550 ที่นั่ง จากการรายงานผลการเลือกตั้งเบื้องต้นของสื่อท้องถิ่น นั่นทำให้เขาได้เสียงต่ำกว่าเป้า 330 เสียงไปเล็กน้อยซึ่งเป็นจำนวนเสียงขั้นต่ำเพื่อขอการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญซึ่งนายเออร์โดแกนกล่าวว่า เป็นลำดับความสำคัญสูงสุดของภารกิจเขาในช่วงหลังเลือกตั้ง
“เราจะไปหาพรรคฝ่ายค้านและเราจะขอคำปรึกษาและฉันทานุมัติ” เพื่อร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นที่พอใจของประชาชนทุกกลุ่ม นายเออร์โดแกนกล่าวในสุนทรพจน์ประกาศชัยชนะในการเลือกตั้งจากระบียงที่ทำการใหญ่ของพรรคในกรุงอังการา “เราจะนำมาซึ่งประชาธิปไตยในระดับที่สูงขึ้น เพื่อสิทธิและเสรีภาพ ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นและแน่นอนรวมถึงความนอบน้อมของเราด้วย”
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3 ของนายเออร์โดแกนจะทำให้เขากลายเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดนับแต่ยุคของนายมุสตาฟา เคมาล อาตาเติร์ก (Mustafa Kemal Ataturk) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกี การได้รับเลือกตั้งอีกครั้งของเขาด้วยส่วนแบ่งคะแนนเสียงที่เพิ่มขึ้นซึ่งมากที่สุดในช่วงเกือบครึ่งศตวรรษจะช่วยให้เขามีชัยชนะเหนือกองทัพซึ่งได้เขียนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นนัีบแต่การทำรัฐประหารในปี 1980 และยังได้กล่าวหาเขาอีกด้วยว่ากำลังบังคับใช้ค่านิยมอิสลามกับกฎหมายที่เป็นโลกาวิสัย (Secular) ขอวตุรกี
การเข้มงวดกับศาสนา
นายเออร์โดแกนซึ่งปัจจุบันอายุ 57 ปีดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครอิสตันบูลตั้งปี 1994 จนถึงปี 1998 ซึ่งในปีนั้นเขาถูกจำคุกในข้อหาปลุกกระแสคสวามเกลียดชังด้วยการอ้างบทกวีศาสนาซ้ำไปซ้ำมา เขากล่าวว่า พรรคของเขาสัญญาที่จะรักษาระบบโลกาวิสัยเอาไว้ขณะที่ผ่อนคลายความเข้มงวดกับการปฏิบัติตามศาสนาอิสลาม พรรคของเขายังมีความคิดที่จะยกเลิกการห้ามใส่ผ้าคลุมหัวมุสลิมในมหาวิทยาลัยและลดความยุ่งยากต่างๆเพื่อเพิ่มโอกาให้เด็กที่จบจาโรงเรียนศาสนาเข้าเรียนในระดับมหาวทิยาลัยได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
ความเจริญทางเศรษฐกิจถือเป็นกุญแจสำคัญต่อความนิยมในตัวเออร์โดแกนในหมู่ผู้ลงคะแนนเสียง เศรษฐกิจตุรกีที่มีขนาด 740,000 ล้านดอลลาร์เติบโตในระดับมากกว่า 5% ต่อปีในช่วง 9 ปีที่พรรค AKP ครองอำนาจ ส่งผลให้ตุรกีมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของโลก เงินเฟ้อชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 7% จากระดับ 30% ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ด้านดัชนีราคาหุ้น ISE-100 ตลาดหุ้นอิสตันบูลเพิ่มขึ้นมากกว่า 6 เท่าตัวในช่วงรัฐบาล AKP ครองอำนาจ นำโดยหุ้นของบริษัทใหญ่ๆเช่น Turkiye Garanti Bankasi AS (GARAN) ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ของตุรกี
ตลาดหุ้นอาจปรับตัวสูงขึ้นอีกหลังนายเออร์โดแกนชนะการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะเป็นชัยชนะที่ได้เสียงส่วนใหญ่ที่มีขนาดลดลงซึ่งเป็นตัวขัดขวางไม่ให้พรรค AKP สามารถแก้รัฐธรรมนูญโดยไม่ต้องขอเสียงสนับสนุนจากพรรคอื่นได้ นายอารี เมตโซ (Ari Metso) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนทาเลริเทห์ดาส อีสต์ (Taaleritehdas East Asset Management) ในนครเฮลซิงกิซึ่งช่วยบริหารกองทุนหุ้นตุรกีมูลค่า 110 ล้านยูโร
ตลาดพอใจที่สุด
ผลการเลือกตั้งที่ “พรรค AKP ยังคงอยู่ในอำนาจแต่ต้องร่วมมือกับพรรคฝ่ายค้านด้วยเป็นผลลัพธ์ที่ตลาดพอใจที่สุด” นายเมตโซกล่าว
นายเออร์โดแกนได้ต่อสู้เพื่อให้มีการเปลี่ยนจากระบบรัฐสภาของตุรกีในปัจจุบันไปสู่ระบบประธานาธิบดี ซึ่งภายใต้ระบบนี้ตัวเขาเองจะเข้าชิงชัยในตำแหน่งประธานาธิบดีด้วย ซึ่งข้อเสนอนี้ได้รับการปฏิเสธจากพรรคการเมืองอื่นๆ
พรรคสาธารณรัฐประชาชน (Republican People’s Party) ซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้านได้คะแนนเสียง 26% ขณะที่พรรคกิจชาตินิยม (Nationalist Action Party) ได้คะแนนเสียง 13% ส่งผลให้ 2 พรรคนี้มีทั่งนั่งในสภาจำนวน 135 และ 54 ที่นั่งตามลำดับ จากการคาดการจากผลการเลือกตั้งในเบื้องต้น ขณะที่ผูัสมัครอิสระอื่นๆซึ่งส่วนใหญ่สนับสนุนพรรคการเมืองที่หนุนให้มีการปกครองตนเองของชาวเคิร์ดทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ได้อีก 36 ที่นั่งที่เหลือ พรรค AKP ได้คะแนนสนับสนุนในครั้งนี้เพิ่มขึ้นจาก 47% ในปี 2007 ซึ่งในครั้งนั้นพรรคได้ 341 ที่นั่ง
ในส่วนของเศรษฐกิจ ความท้าทายของนายเออร์โดแกนในเทอมที่ 3 รวมถึงเรื่องการขาดดุลการค้าที่สูงขึ้นซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการชะงักงันของเศรษฐกิจตุรกีที่กำลังเฟื่องฟูในขณะนี้
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดพุ่งทะลุ 60,000 ล้านดอลลาร์ในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2011 หรือกว่า 8% ของจีดีพี เทียบกับตัวเลขประมาณการของรัฐบาลที่ 42,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว การเพิ่มขึ้นของการขาดดุลเป็นผลมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในสินค้าจำพวกวัตถุดิบและสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งต้องมีการนำเข้าเนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวกว่า 8.9% ในปีที่แล้ว ตัวเลขการขาดดุลในเดือนเมษายนจะเผยแพร่ในวันนี้ (จันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2011)
การเติบโต ‘แข็งแกร่งเกินไป’
ตอนนี้รัฐบาลควรดำเนิน “มาตรการด้านการคลังที่เข้มงวดเพื่อสนับสนุความพยายามของธนาคารกลางที่พยายามควบคุมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินไปเล็กน้อย” นายเมตโซกล่าว
เออร์โดแกนสามารถชี้ไปยังพัฒนาการที่ดีขึ้นของฐานะการคลังของประเทศที่นำตุรกีเข้าไปใกล้อันดับความน่าเชื่อถือในระดับ “น่าลงทุน” มากขึ้น ฟิทช์เรตติ้งซึ่งให้อันดับความน่าเชื่อถือตุรกีต่ำกว่าระดับน่าลงทุนอยู่ 1 ระดับกล่าวเมื่อเดือนตุลาคมว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังการเลือกตั้งอาจเป็นเหตุผลที่เพียงพอสำหรับการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือ
การประมาณการของกระทรวงการคลังตุรกีแสดงให้เห็นว่า ตุรกีซึ่งครั้งหนึ่งเป็นลูกหนี้รายใหญ่ไอเอ็มเอฟหลังจากขอเงินกู้กว่า 26,000 ล้านดอลลาร์หลังจากเกิดวิกฤตธนาคารในปี 2001 จะสามารถจ่ายหนี้ที่เหลืออยู่อีกเพียง 4,900 ล้านดอลลาร์ให้กับไอเอ็มเอฟได้ภายในปี 2013 ซึ่งนั่นตรงกันข้ามกับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งรวมถึงเพื่อนบ้านของตุรกีอย่างกรีซซึ่งถูกบีบให้รับกู้เงินจากไอเอ็มเอฟในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาหลังจากพยายามแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สิน
อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง
ตุรกีซึ่งถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมสหภาพยุโรปในตอนนี้กลับสามารถกู้เงินโดยที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 10 ปีของตุรกีต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในอย่างน้อย 8 ประเทศจาก 27 ประเทศในสหภาพยุโรป
ในตะวันออกกลางซึ่งการปฏิวัติมวลชนได้โค่นอำนาจผู้นำเผด็จการซึ่งครองอำนาจมายาวนานทั้งตูนีเซียและอิยิปต์ในปีนี้ ความสำเร็จทางการเมืองของเออร์โดแกนและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของตุรกียังคงถูกอ้างถึงในฐานะโมเดลตัวอย่างโดยบรรดาพรรคฝ่ายค้านรวมถึงกลุ่มภารดรภาพอิสลามในอิยิปต์ด้วย
สัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลเออร์โดแกนกล่าวว่า ตุรกีจะยังคงเปิดเขตแดนที่ติดกับซีเรียให้กับผู้อพยพลี้ภัยจากการปราบปรามกลุ่มผุ้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย ขณะนี้ชาวซีเรียกว่า 5,000 คนได้ที่กำบังชั่วคราวในตุรกีแล้ว
นายเออร์โดแกนซึ่งมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับประธานาธิบดีบาชาร์ อัลอัสซาด (Bashar al-Assad) ของซีเรียได้กล่าวตำหนิการใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ประท้วงและกล่าวว่า เขาจะใช้มาตรการกดดันรัฐบาลซีเรียหลังการเลือกตั้ง
“ตอนนี้เขากำลังเผชิญกับวาระด้านนโยบายการต่างประเทศที่หนักมากๆ โดยเริ่มจากซีเรียนับแต่วันนี้เป็นต้นไป” นายโซลี โอเซล (Soli Ozel) นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบลีกี (Bigli University) ในนครอิสตันบูล “หากว่าซีเรียเกิดแตกสลายขึ้นมา และดูเหมือนว่ามันอาจจะเป็นเช่นนั้น แล้วใครจะเข้ามาเล่นบทบาทสำคัญในการจัดการกับการล่มสลายนี้? ตุรกี”
เออร์โดแกนกล่าวกับฝูงชนนอกที่ทำการพรรคเมื่อคืนว่า ชัยชนะการเลือกตั้งของเขาในครั้งนี้จะเป็นการช่วยเหลือขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยทั่วตะวันออกกลาง “ดามัสกัสจะได้ประโยชน์มากเท่ากับอังการา” เขากล่าว
ที่มา Bloomberg
แปลและเรียบเรียงโดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday